TNN online "โลหิตจาง" อันตรายหรือไม่ เปิดสาเหตุ และอาการที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง?

TNN ONLINE

Health

"โลหิตจาง" อันตรายหรือไม่ เปิดสาเหตุ และอาการที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง?

โลหิตจาง อันตรายหรือไม่ เปิดสาเหตุ และอาการที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง?

"โรคโลหิตจาง" อันตรายกว่าที่คิด เปิดสาเหตุ และอาการที่สามารถพบได้บ่อย เป็นอย่างไร?

โลหิตจางหรือภาวะซีด อีกหนึ่งโรคฮิตที่สามารถพบได้ในคนส่วนใหญ่ โดยภาวะโลหิตจางนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง อ่อนล้า เพลีย ผิวซีดหรือผิวเหลือง ซึ่งแม้อาการของโรคจะดูไม่รุนแรง แต่ในความเป็นจริงนั้นหากปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจอันตรายถึงชีวิตได้


โลหิตจางคืออะไร

โลหิตจาง (Anemia) หรือที่หลายๆคนมักเรียกว่าเลือดจางหรือเลือดน้อย เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายที่เกิดจากฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดง อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ โดยฮีโมโกลบินจะมีหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งหากระดับของมันต่ำกว่าปกติ ก็จะส่งผลทำให้อวัยวะในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลทำให้เกิดร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรงและหากปล่อยภาวะโลหิตจางทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ร่างกายมีภาวะ “ซีด” ได้ 


สาเหตุของ “โลหิตจาง” เกิดจากอะไร?

สำหรับสาเหตุของภาวะโลหิตจาง สามารถแบ่งออกได้ 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. การเสียเลือดปริมาณมาก ตัวอย่างเช่นการเกิดอุบัติเหตุ มีแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร หรือการมีรอบเดือนของเพศหญิง เป็นต้น โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจางได้

2. ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง จากการขาดสารอาหารที่จำ เป็นในการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน เช่น ขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก หรือได้รับพิษจากโลหะหนัก เป็นต้น

3. โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคไต โรคตับ ข้ออักเสบ โรคเอสแอลอี หรือโรคมะเร็งของเม็ดเลือด เป็นต้น


อาการของภาวะ “โลหิตจาง” มีอะบ้าง?

สำหรับอาการหลักๆของภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

1. มีอาการหอบจากการเหนื่อย โดยเฉพาะในเวลาที่ต้องออกแรง ง่ายกว่าปกติ

2. ขี้ลืม สมองล้า ขาดสมาธิ

3. อาการอ่อนเพลีย เวียนศรีษะ และหน้ามืด

4. อาการที่อวัยวะ เช่น ที่ขาถ้าขาดเลือด จะทำให้ปวดขา เดินไม่ได้ มีการชา เป็นต้น

5. ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ


วิธีการป้องกันภาวะ “โลหิตจาง”

1. ควรมีการตรวจสุขภาพประจำ ปีอย่างสม่ำเสมอ

2. ไม่ควรรับประทานยาชุด เช่น ยาแก้ปวดเมื่อย หรือแก้อาการอักเสบ 

3. กรณีที่พบว่ามีการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เช่น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกตามไรฟันควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษา

4. กรณีอายุมาก และเป็นวัยหมดประจำเดือนแล้ว แต่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ


ทั้งนี้ภาวะโลหิตจาง สามารถรักษาให้หายจนสามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้หากได้รับการวินิจฉัยและอยู่ในการดูแลรักษาของแพทย์อย่างถูกต้องและทันท่วงที


ที่มาข้อมูล : มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์, POBPAD

ที่มาภาพ : freepik/jcomp

ข่าวแนะนำ