TNN online โดนพิษแมงกะพรุน แนะวิธีปฐมพยาบาล ห้ามใช้น้ำอะไรล้าง?

TNN ONLINE

Health

โดนพิษแมงกะพรุน แนะวิธีปฐมพยาบาล ห้ามใช้น้ำอะไรล้าง?

โดนพิษแมงกะพรุน แนะวิธีปฐมพยาบาล ห้ามใช้น้ำอะไรล้าง?

เมื่อสัมผัสพิษ "แมงกะพรุน" แนะวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง เมื่อบาดเจ็บแล้วต้องรีบทำอะไร และห้ามทำอะไร

เมื่อสัมผัสพิษ "แมงกะพรุน" แนะวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง เมื่อบาดเจ็บแล้วต้องรีบทำอะไร และห้ามทำอะไร


แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ  ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก


แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน


แมงกะพรุน (Jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เป็นที่รู้จักทั่วไป 4 ชั้น (Class) คือ


1. Anthozao ได้แก่ ดอกไม้ทะเล และปะการัง
2. Hydrozoa ได้แก่ แมงกะพรุนไฟ
3. Scyphozoa ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (พบบ่อยที่สุด)
4. Cubozoa ได้แก่ แมงกะพรุนกล่อง


แมงกะพรุนแพร่กระจายในทะเลทั่วโลก ส่วนใหญ่พบนทะเลเขตร้อนหรือเขตอบอุ่น โดยมากดำรงชีวิตในทะเลบริเวณน้ำตื้น มีมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ และมากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษต่อมนุษย์


แมงกะพรุนพิษที่มีรายงานว่าทำให้เสียชีวิตบ่อยที่สุด คือ แมงกะพรุนกล่อง (ฺBox Jellyfish) พบในหลายประเทศของเขตร้อน เช่นทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ประเทศฟิลิฟฟินส์ เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น



โดนพิษแมงกะพรุน แนะวิธีปฐมพยาบาล ห้ามใช้น้ำอะไรล้าง? ภาพจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 



วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อโดนแมงกะพรุน


1.เมื่อสัมผัสพิษแมงกะพรุนให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะอาจมีอาการแพ้รุนแรงตามมาจนอาจทำให้จมน้ำได้
2.ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณแผล ถ้ามีไม่มีให้ล้างด้วยน้ำทะเลไม่ควรล้างโดยน้ำเปล่าหรือของเหลวชนิดอื่น
3.ห้ามถูหรือสัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่าเพราะยังอาจมีเข็มพิษติดค้างอยู่
4.หากไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะอาจมีอาการแพ้ตามมาภายหลังได้
5.หากมีอาการแพ้รุนแรง เช่น อาการหอบ หรือหายใจไม่ออก ควรเรียกรถพยาบาล โทร. 1669 เพื่อไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
หากผู้ถูกพิษหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น ควรกู้ชีวิตโดยการกดหน้าอก และช่วยหายใจทันที


ข้อห้ามที่สำคัญ เมื่อโดนพิษแมงกะพรุน ห้ามราดแผลด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำทะเลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้นอกจากนี้ควรสังเกตอาการหากปวดที่บาดแผลอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่นใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หน้าซีด หรือบริเวณปลายมือและเท้าเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที



ที่มา โรงพยาบาลจุฬาฯ / กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง / อย. 

ขอบคุณภาพจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง