TNN online "ใส่ถุงเท้านอน" จะทำให้ใหลตาย หมอแล็บแพนด้า เฉลยแล้วจริงหรือ?

TNN ONLINE

Health

"ใส่ถุงเท้านอน" จะทำให้ใหลตาย หมอแล็บแพนด้า เฉลยแล้วจริงหรือ?

ใส่ถุงเท้านอน จะทำให้ใหลตาย หมอแล็บแพนด้า เฉลยแล้วจริงหรือ?

แชร์สนั่น "ใส่ถุงเท้านอน" จะทำให้ใหลตาย ล่าสุด หมอแล็บแพนด้า เฉลยแล้วจริงหรือ?

แชร์สนั่น "ใส่ถุงเท้านอน" จะทำให้ใหลตายได้ ล่าสุด หมอแล็บแพนด้า เฉลยแล้วจริงหรือ?


ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของแฟนเพจ "หมอแล็บแพนด้า" ได้โพสต์ข้อความไขข้องสงสัยกรณี ถ้าใส่ถุงเท้านอนแล้วทำให้เสียชีวิตได้


โดยระบุว่า "ช่วงนี้แชร์กันเยอะ ถ้าใส่ถุงเท้านอนแล้วทำให้ตายได้ ไม่จริงนะครับ เป็นแค่การแชร์ต่อๆกันมาไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยรองรับเลย 

ข่าวนี้มันมีคนแชร์เยอะมากจากทางญี่ปุ่น บอกว่าการใส่ถุงเท้านอน จะทำให้ใหลตายได้ การใส่ถุงเท้าทำให้ความร้อนระบายไม่ได้ มีผลต่อระบบประสาทไปนู่น และเกิดผลเสียต่อสุขภาพทำให้ตายได้ซะงั้น

พูดอย่างกะเท้าของเราเป็นที่ระบายความร้อนจุดเดียวในร่างกายอย่างนั้นแหละ  ร่างกายของเรามีที่ระบายความร้อนเยอะแยะ ผิวหนังก็ระบายได้ ต่อให้เผลอหลับใส่รองเท้าคอมแบทนอน ยังไม่ตายเลย  แล้วไปเขาค้อตอนหนาวๆนะ บางคนใส่ทั้งถุงเท้า แถมนอนในถุงนอนโผล่มาแค่หน้าเหมือนดักแด้ ยังไม่มีใครตายเลยครับ

ลองคิดสิคิด คาปูชิโน้ววว ถ้ามันตายจริงๆนะ ช่วงกลางวันน่าตายกว่าอีก แดดร้อนมาก แถมใส่ทั้งถุงเท้ารองเท้าเกือบทั้งวัน ไปตายทำไมช่วงกลางคืนที่อากาศเย็นสบาย 

หนาวๆนี่ใส่ถุงเท้านอนได้เลยครับ ช่วยให้อบอุ่น หลับสบาย ฝันดีฝันแม่น ไม่เกี่ยวกับใหลตายเด้อ"




สำหรับ โรคใหลตาย ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ระบุดังนี้


อาการใหลตาย คือกลุ่มอาการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (Sudden Unexplained Death Syndrome; SUDS) โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพราะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันโดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มาก่อน 

 

อาการใหลตายเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

-ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ เช่น กลุ่มอาการบรูกาด้า (Brugada syndrome) และกลุ่มอาการ early repolarization syndrome, long QT syndrome

-ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ(โคโรนารี่) เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของทางไหลเวียนของเลือดในหัวใจ 

-กลุ่มอาการที่ผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ เช่น Hypertrophic obstructive cardiomyopathy, ARVD ที่มีความผิดปกติของหัวใจห้องล่างขวา

-สาเหตุอื่น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลิ่มเลือดอุดตันและร่างกายได้รับสารพิษต่างๆ


ใครบ้างที่มีความเสี่ยง

-ถึงแม้ผู้ป่วยมักจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการมาก่อนที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นกะทันหันหรือเสียชีวิตแต่ปัจจัยต่อไปนี้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น

-มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเกิดอาการใหลตาย ผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาด้าประมาณ 15-30% มียีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

-ผู้ชายในช่วงวัยทำงานหรือวัยกลางคน

-เชื้อชาติ พบบ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

อาการที่พบได้มีอะไรบ้าง

-เป็นลม

-หมดสติ

-หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน

-หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือใจสั่น

-หัวใจเต้นเร็วมาก

-ชัก

-เสียชีวิตกะทันหัน

โดยกลุ่มอาการบรูกาด้ามักจะเกิดในช่วงนอนหลับหรือหลังมื้ออาหารใหญ่ๆ




ที่มา หมอแล็บ / โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์

ภาพจาก หมอแล็บแพนด้า / TNN Online

ข่าวแนะนำ