TNN online "ขึ้นบันได-ลงบันได" ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกาย หมออดุลย์ มีคำตอบ?

TNN ONLINE

Health

"ขึ้นบันได-ลงบันได" ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกาย หมออดุลย์ มีคำตอบ?

ขึ้นบันได-ลงบันได ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกาย หมออดุลย์ มีคำตอบ?

"หมออดุลย์" เปิดผลศึกษาการ "เดินขึ้นบันได" และ "ลงบันได" ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกาย อ่านเลยที่นี่

"หมออดุลย์" เปิดผลศึกษาการ "เดินขึ้นบันได" และ "ลงบันได" ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกาย อ่านเลยที่นี่


ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เรื่อง เดินลงบันไดสร้างกล้ามเนื้อและลดไขมันมากกว่าขึ้นบันได โดยระบุว่า


"ปกติเรารู้สึกว่า เดินขึ้นบันได จะเหนื่อยกว่า เดินลงบันได ความเข้าใจจึงเป็นว่า การออกกำลังกายหนักๆ ควรออกกำลังด้วยการขึ้นบันได น่าจะได้ผลกว่า มาดูว่า การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เป็นอย่างไร


ได้มีการศึกษาในอาสาสมัคร สตรีที่มีน้ำหนักเกิน อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 30 ราย ที่ไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อ ให้อาสาสมัครเดินขึ้น หรือ ลงบันไดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เที่ยวละ 6 ชั้น โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 


กลุ่มที่ 1 เดินขึ้น 6 ชั้น จากนั้น กดลิฟต์ลงมาชั้นล่าง (นับเป็น 1 เที่ยว) ขณะที่ กลุ่มที่ 2 กดลิฟท์ขึ้นไปชั้น 6 และ เดินลงบันไดมาที่ชั้น 1 (นับเป็น 1 เที่ยว) 


ในสัปดาห์แรก เดินขึ้น หรือ ลงบันได 2 เที่ยว สัปดาห์ถัดไป เพิ่มอีก 2 เที่ยว ทุกสัปดาห์ จนกลายเป็นเดิน สัปดาห์ละ 24 เที่ยว 


ในระหว่างการศึกษา อาสาสมัครทุกคน งดการออกกำลังอื่นๆ ทำการตรวจสุขภาพ เจาะเลือด วัดความดันโลหิต วัดมวลกล้ามเนื้อ วัดความหนาแน่ของกระดูก ก่อนเริ่มการศึกษา และ หลังการศึกษาจบ ที่ 3 เดือน


ผลการศึกษา เป็นที่น่าประหลายใจมาก คือ ทั้ง การขึ้น หรือ ลงบันได มีประโยชน์ ในทุกๆด้านก็จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การคุมน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ มวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ล้วนดีขึ้นทั้งในกลุ่ม เดินขึ้นบันไดและกลุ่มเดินลงบันได 


แต่พบกว่ากลุ่มที่เดินลงบันได หลัง 3 เดือน ค่าน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ลดลงมากกว่า รวมถึงมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณไขมันในร่างกายลดลง มวลกระดูกหนาแน่นขึ้นมากในกลุ่มที่ลงบันได


-อธิบายเหตุผลทางการแพทย์สำหรับเรื่องนี้ คือ การเดินลงบันได ร่างกายจำเป็นต้องเกร็งกล้ามเนื้อ ไม่เฉพาะกล้ามเนื้อขา แต่เป็นกล้ามเนื้อทั้งตัวเพื่อทรงตัวไม่ให้ตกบันได มีการออกแรง เกร็งกล้ามเนื้อมากกว่า และ นานกว่า การขึ้นบันไดจึงทำให้มีการพัฒนาเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และ กระดูกมากกว่า 


มีความรู้ทางการแพทย์ว่า หากมีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังกาย จะทำให้การคุมระดับ น้ำตาล และ ไขมันในเลือดดีขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลและไขมันดีขึ้น จึงส่งผลให้ความดันโลหิตดีขึ้นด้วย ในคนสูงอายุ จึงควรมีการออกกำลังกายที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ 


ส่วนการขึ้นบันได พบว่า ในระหว่างการขึ้นบันได มีการเผาผลาญพลังงาน และ การกระตุ้น หัวใจ และ ปอด มากกว่าการลงบันได ดังนั้นการขึ้นบันไดก็ยังมีประโยชน์ในด้าน แอโรบิค ช่วยในฝึกฝนระบบประสาทอัตโนมัติของระบบการไหลเวียนและปอด"






ที่มา บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune

ภาพจาก TNN Online

ข่าวแนะนำ