TNN online "โรคปอดอักเสบ" ป้องกันอย่างไร เปิดพัดลมจ่อ "เด็ก" เสี่ยงป่วยจริงหรือ?

TNN ONLINE

Health

"โรคปอดอักเสบ" ป้องกันอย่างไร เปิดพัดลมจ่อ "เด็ก" เสี่ยงป่วยจริงหรือ?

โรคปอดอักเสบ ป้องกันอย่างไร เปิดพัดลมจ่อ เด็ก เสี่ยงป่วยจริงหรือ?

"โรคปอดอักเสบ" ป้องกันอย่างไร เปิดพัดลมจ่อ "เด็ก" เสี่ยงป่วยจริงหรือ กรมการแพทย์ ชี้แจงแล้ว

"โรคปอดอักเสบ" ป้องกันอย่างไร เปิดพัดลมจ่อ "เด็ก" เสี่ยงป่วยจริงหรือ กรมการแพทย์ ชี้แจงแล้ว


จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความว่า เปิดพัดลมจ่อเด็กเสี่ยงเป็นปอดอักเสบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่าปอดบวม หมายถึงโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อฮิบ หรือเชื้อไมโครพลาสมา ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เชื้อ RSV, ไข้หวัดใหญ่ , ADENOVIRUS, PARAINFLUENZA VIRUS เป็นต้น


โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย และสามารถติดต่อได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง บางส่วนอาจเกิดจากการสำลักอาหาร การแพร่กระจายตามกระแสเลือด หรือแพร่ผ่านจากมือคนซึ่งมีสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ไปสู่อีกคน โรคนี้พบบ่อยทั้งในผู้สูงอายุและเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด มีโรคหัวใจ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะขาดอาหาร


โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กเป็นโรคที่พบบ่อย และในกรณีที่อาการรุนแรงอาจส่งผลให้มีภาวะหายใจล้มเหลวได้ การป้องกันโรคปอดอักเสบ สามารถทำได้โดย

1. หลีกเลี่ยงการพาบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีคนแออัด เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

3. จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ

4. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ หรืออากาศที่หนาวเย็นเกินไป

5. หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย

6. แนะนำการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง

7. ในปัจจุบันมีคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนิวโมคอคคัส โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น เด็กที่ไม่มีม้าม มีโรคไตชนิดเนโฟรติก หรือมีโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ไตวาย โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

8. หากสงสัยว่าลูกเริ่มมีอาการของโรคปอดอักเสบติดเชื้อ เช่น มีไข้ ไอมาก ควรพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999 และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.childrenhospital.go.th/ หรือโทร Call Center 1415


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : โรคปอดอักเสบไม่ได้เกี่ยวกับเปิดพัดลมจ่อแต่อย่างใด โรคปอดอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กโดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย และสามารถติดต่อได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง





ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก TNN Online / AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง