TNN online ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง เหมือนจะเป็นลม เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา?

TNN ONLINE

Health

ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง เหมือนจะเป็นลม เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา?

ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง เหมือนจะเป็นลม เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา?

นพ.อดุลย์ ไขข้อสงสัย ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง และรู้สึกหวิวๆเหมือนจะเป็นลม เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา?

นพ.อดุลย์ ไขข้อสงสัย ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง และรู้สึกหวิวๆเหมือนจะเป็นลม เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา?


ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เรื่อง ใจสั่นจะเป็นลม โดยระบุว่า


หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ ตื่นเต้นใจสั่น ใจเต้นแรง และรู้สึกหวิวๆ เหมือนจะเป็นลม หรือ บางคนออกกำลัง วิ่ง เหนื่อยมาก ใจสั่น และ เหมือนจะเป็นลม มาดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา


ปกติ เวลาร่างกายต้องใช้กำลังกาย หรือ กำลังสมองมากขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติ จะกระตุ้นให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น เพื่อส่งออกซิเจนปริมาณมากขึ้น ไปเลี้ยงร่างกายและสมอง การที่หัวใจเต้นเร็วขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น และ เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งโดยปกติเวลาหัวใจเต้นเร็วขึ้นก็มีปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มขึ้นตามตวามตั้งใจ


แต่ว่า เนื่องจากระบบไหลเวียนในร่างกายเป็นระบบปิด ปริมาณเลือดทีไหลเวียนมีคงที่ และ ช่องทางเข้าของเลือดที่มาที่หัวใจ ก็มีเส้นเลือดขนาดเท่าเดิม เลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจ ในการบีบตัวแต่ละครั้ง ปริมาณเลือดจะสัมพันธ์กับ ขนาดของเส้นเลือด แรงดูดกลับและระยะเวลาให้เลือดไหลเข้าหัวใจ (มีข้อจำกัด ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้เกินจุดที่กำหนด) คิดง่ายๆเหมือนเราเอาถังน้ำไปรองน้ำก๊อก ถ้าเรามีเวลารองน้ำน้อย เราก็มีน้ำในถังน้อย ต่อให้เราเร่งเอาถังน้ำไปเติมใส่โอ่งถี่แค่ไหน เร็วแค่ไหน เราก็ไม่ได้น้ำในโอ่งมากพอ เพราะว่าถ้าเรายิ่งเอาถังออกไปเทใส่โอ่งเร็วเท่าไหร่ น้ำที่ลงไปในโอ่งแต่ละครั้งก็มีน้อยลงเท่านั้น เพราะว่าเราไม่ได้รอให้น้ำจากก๊อกน้ำเต็มถังซะก่อนค่อยยกไปเท 


ระบบไหลเวียนเลือดของเราก็เหมือนกันครับ หากหัวใจ เต้นเร็วขึ้น เรื่อยๆ บีบตัวถี่ขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจ และ หัวใจบีบออกไป (Stroke volume) ก็มีน้อยลงทำให้หัวใจเหนื่อยทำงานหนักขึ้น แต่มีเลือดออกไปนิดเดียว


มีการศึกษาว่า หากหัวใจเต้นเร็วเกินกว่า 150 ครั้งต่อนาที ปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีดแต่ละครั้ง (Stroke volume) ก็จะลดลง หัวใจที่เต้นเร็วขึ้น จะทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน ตรงกันตั้งแต่ หัวใจเต้น 50 ครั้งต่อนาที จนถึง 130 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วเกิน  130 ครั้งต่อนาที เลือดที่ออกไปจะไม่ได้มากตามสัดส่วน คือ มีเลือดเพิ่มขึ้นน้อยลง และ เมื่อเกิน 150 ครั้งต่อนาที จะไม่สามารถบีบเลือดไปมากกว่านั้นอีกแล้ว คือ เหนื่อยโดยไม่มีประโยชน์ นั่นย่อมหมายถึงว่า เลือดไม่พอใช้จะเกิดภาวะความดันลดลง ทำให้เกิดอาการหวิวๆ เหมือนจะเป็นลม


และหากหัวใจเต้นเร็วเกิน 180ครั้งต่อนาที จะมีลักษณะที่เรียกว่า หัวใจพลิ้ว ซึ่งก็คือ สั่น โดยไม่มีเลือดออกไป ซึ่งภาวะนี้ อาจจะถึงกับทำให้เสียชีวิตได้


หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเกิน 130 ครั้งต่อนาที จะเริ่มไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเกิน 150 ครั้งต่อนาที จะเริ่มเป็นอันตราย ในยุคปัจจุบัน อุปกรณ์นาฬิกาข้อมือ สำหรับออกกำลังกาย ช่วยได้ มีการวัดระดับชีพจร และ เตือน เราเมื่อหัวใจเต้นเร็วเกิน






ที่มา บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง