TNN online เหนื่อยแต่ไม่นอน อาการของคนที่อยาก “เลื่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น”

TNN ONLINE

Health

เหนื่อยแต่ไม่นอน อาการของคนที่อยาก “เลื่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น”

เหนื่อยแต่ไม่นอน อาการของคนที่อยาก “เลื่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น”

การเลื่อน หรือ ผัดผ่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น เป็นพฤติกรรมที่คนวัยทำงานส่วนใหญ่กำลังเผชิญ นี้ไม่ใช่อาการของโรคนอนไม่หลับ แต่เป็นการเลือกที่จะไม่นอน เพื่อชดเชยเวลาให้กับตัวเอง

การผัดผ่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น หรือ Revenge Bedtime Procrastination อธิบายถึงพฤติกรรมการผัดเวลาการนอนออกไป เพื่อใช้เวลาในช่วงดึกเพลิดเพลินกับสิ่งต่างๆ หรือทำความต้องการของตัวเอง เพื่อชดเชยเวลากลางวันที่สูญเสียไปจากการใช้ชีวิตตามตารางที่ยุ่งตลอดเวลา 

ดังนั้น มันจึงไม่ใช่อาการของโรคนอนไม่หลับ แต่เป็นการเลือกที่จะไม่นอน เพื่อทำความต้องการของตัวเองอย่างใดอย่างหนึ่ง  

โดยส่วนใหญ่แล้ว การผัดเวลานอน มักจะพบในคนวัยทำงานที่ต้องเจอกับความเครียด และงานยุ่งกินเวลาส่วนใหญ่ของวัน จึงเกิดพฤติกรรม “แก้แค้น” เวลานั้น ด้วยการหาสิ่งบันเทิง คลายความเครียดสองสามชั่วโมง แม้ว่าร่างกายรู้สึกเหนื่อย รู้ตัวดีกว่าต้องพักผ่อน และพฤติกรรมนี้จะส่งผลให้อนอนไม่พอก็ตาม 


การผัดเวลานอนออกไปเช่นนี้ แม้จะทำให้ได้ใช้เวลาตามที่ต้องการ แต่การลดชั่วโมงนอน 2-3 ชั่วโมง แต่ยังต้องติ่นเช้าเวลาดิมเพื่อไปทำงาน ส่งผลถึงการนอนไม่เพียงพออย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงความทรงจำทั้งระยะสั้นและระยาวได้


  • ลักษณะของคนที่ชอบ “เลื่อนเวลานอนเพื่อแก้แค้น” 


- ไม่ยอมนอนตรงเวลา และยอมลดชั่วโมงการนอนของตัวเองลง


- หลงใหลไปกับสิ่งที่ต้องการทำ เพื่อมาเป็นข้อออ้างของการนอนดึก เช่น งานบ้างอย่าง หรือ อาการป่วย


- การนอนดึกอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลลบต่อการใช้ชีวิต


การผัดเวลาเข้านอน ยังทำให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ เช่น หลีกเลี่ยงการทำงานบ้าน เพื่อจะได้มีเวลามาเพลิดเพลินกับอย่างอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานได้นทันที เช่น ดูทีวี เล่นโทรศัพท์มือถือ และเล่นเกมส์ 


ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงไม่เพียงแค่เรื่องของการนอน แต่ยังทำให้ปัญหาสุขภาพที่เป็นผลพวงต่อเนื่องจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

  • ภาวะ “เลื่อนเวลานอนเพื่อล้างแค้น” ตามหลักจิตวิทยา


การศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และเป็นเรื่องใหม่มากในวงการจิตวิทยาทำให้มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง แต่หลักๆ แล้วพบว่า การผัดเวลานอน เป็นพฤติกรรมที่ทำตาม “ความสมัครใจ” เนื่องจากคนที่มีพฤติกรรมนี้ส่วนใหญ่ ต่างรู้ดีถึงผลที่จะตามมา อย่างไรก็ดี อาจมีทฤษฎีที่สามารถพูดถึงได้


นั่นก็คือ พวกเขาอาจมีความล้มเหลวในการควบคุมตนเองหรือการควบคุมตนเอง ซึ่งอาจอธิบายถึงนิสัยอื่น เช่น อาจจะเป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองในเรื่องอื่นๆ ทั้งที่ทำงานหรือที่โรงเรียนได้ด้วย


แต่ก็อาจไม่ใช่กับทุกคน ผู้เชี่ยวชาญบางคนอธิบายว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่แล้วใน “ยีนส์” นั่นคือ ความเป็น คนนกฮูกกลางคืน (night owl person ) ซึ่งมีนิสัยชอบและรู้สึกกระปรี้ประเปร่ากับการใช้ชีวิตกลางคืนมากกว่า แต่เมื่องพวกเขาถูกบังคับให้ใช้ชีวิตตามตารางเวลาที่ออกแบบมาเพื่อ คนประเภท “นกที่ตื่นเช้า” (early bird person) การเสียสละเวลาการนอนจึงไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ล้มเหลว แต่เป็นความพยายามหาเวลาพักฟื้นจากความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตตอนกลางวัน


  • ผลที่จะเกิดขึ้นจากการ “เลื่อนเวลานอน”

การผัดเวลานอนทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะอดนอนได้ หากไม่มีเวลานอนเพียงพอ จิตใจและร่างกายก็ไม่สามารถชาร์จพลังงานได้อย่างเหมาะสม ทำให้เสียสุขภาพ


การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้การคิด ความจำ และการตัดสินใจลดลง การอดนอนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการง่วงนอนในตอนกลางวัน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานและการเรียน ในเคสที่อันตรายกว่านั้น ทำให้เกิดอาการง่วงในตอนขับรถ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้


การนอนหลับไม่เพียงพอเชื่อมโยงกับความหงุดหงิดและปัญหาอื่นๆ ในการควบคุมอารมณ์ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับความผิดปกติของสุขภาพจิตเช่นภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล


ส่วนผลต่อร่างกาย ทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อปัญหาหัวใจและหลอดเลือดและความผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน ที่น่าสนใจคือ การนอนหลับไม่เพียงพอ ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้กันและวัคซีน ทำให้โควิด-19 เล่นงานได้ง่ายยิ่งขึ้น


  • ป้องกันด้วยการสร้าง “กิจวัตรก่อนนอน” ที่ดี


- รักษาเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้สม่ำเสมอ รวมทั้งวันที่ไม่ทำงาน


- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนในช่วงบ่ายถึงเย็น


- งดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ก่อนนอน


- สร้างกิจวัตรการนอนให้ร่างกายคุ้นชิน จนสามารถนอนหลับได้อัตโนมัติเมื่อถึงเวลา


วิธีการผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ การนั่งสมาธิ หรือการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรก่อนนอนและช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น เทคนิคการผ่อนคลายยังอาจช่วยลดความเครียดที่อาจกระตุ้นให้เกิดการผัดเวลานอนได้


นอกจากนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนที่น่าดึงดูดใจที่มืดและเงียบสงบและมีที่นอนและผ้าปูที่นอนที่นุ่มสบายจะทำให้บรรยากาศชวนให้ง่วงนอน และลดความต้องการที่ฝืนตัวเองเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น และสามารถเข้านอนได้ตรงเวลา
.
.
ที่มา: 1
ภาพปก: Getty Image
—————
.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website : https://www.tnnthailand.com/news/health/
Facebook : https://bit.ly/TNNHealthFacebook
Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube
TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok
Line @TNNHEALTH : https://lin.ee/MNckVHq
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/TNNHealthFacebook

ข่าวแนะนำ