TNN online เข้าใจ "อัลไซเมอร์" โรคที่ส่งผลกับผู้ป่วยมากกว่าแค่อาการหลงลืม

TNN ONLINE

Health

เข้าใจ "อัลไซเมอร์" โรคที่ส่งผลกับผู้ป่วยมากกว่าแค่อาการหลงลืม

เข้าใจ อัลไซเมอร์  โรคที่ส่งผลกับผู้ป่วยมากกว่าแค่อาการหลงลืม

คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าอาการของป่วยโรคอัลไซเมอร์คือมักจะหลงๆลืมๆ แต่แท้ที่จริงแล้วผลกระทบของโรคมีมากกว่านั้น คนรอบตัวจำเป็นต้องอาศัยความรูและเข้าใจโรค รวมถึงเข้าใจผู้ป่วยอย่างดีด้วย

ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการหลงๆ ลืมๆ ตั้งแต่ลืมสิ่งของ ลิมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง จนกระทั่งคนรอบตัว หรือแม้แต่คนที่รัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคอัลไซเมอร์มีผลกระทบต่อผู้ป่วยมากกว่านั้น และคนใกล้ชิดจำเป็นต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจ ในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เป็นอย่างมาก


อัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยเกิดจาการเสื่อมถอยของการทำงานและโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมอง อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นว่าผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน


ดังนั้น ควรเริ่มจากเข้าใจอาการป่วยของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่...


1.ก่อนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม เป็นอาการเริ่มต้น ที่ทำให้การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ มีอาการหลงลืม แต่ยังไม่ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน


2.ระยะเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มีอาการเสื่อมถอยของการรับรู้มากขึ้น อาจมีอาการทางจิตและปัญหาเรื่องพฤติกรรมร่วมด้วย การใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถทำได้เหมือนเดิม ทำให้ต้องพึ่งผู้ดูแล


3.ระยะอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการทางประสาท เช่นกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการเดิน การกลืน การนอนเตียง จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด


เมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น เซลล์สมองทุกส่วนจะเสื่อมถอย จนจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้อีกต่อไป ไม่สามารถแยกผิดถูก มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา และสูญเสียความทรงจำทั้งหมดไปในที่สุด


โรคอัลไซเมอร์ จึงไม่ใช่โรทำให้มีอาการเพียงแค่หลงลืมเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ระยะเกิดภาวะสมองเสื่อมแล้ว มันส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตแทบจะทั้งหมด


หากลองนึกดูว่าจากคนที่เคยดูแลตัวเองได้ เคยเดิน กิน นอนได้ด้วยตัวเอง วันนึงกลับไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้อีกต่อไป ไม่สามารถสื่อสาร หรือแม้แต่ควบคุมตัวเองได้ และเมื่อเซลล์สมองเสื่อมถอยลงไปมากแล้ว ก็ไม่มีวันหายเป็นปกติได้อีก


หากเริ่มสังเกตเห็นผู้สูงอายุในบ้านเริ่มมีอาการในระยะแรก ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย รับการรักษาและการดูแลที่เหมาะสมในทันที


ส่วนลูกหลานที่อยู่ใกล้ชิดก็ต้องอาศัยความเข้าใจและความใส่ใจในการดูแลผู้ป่วย ก่อนอื่นต้องเห็นใจว่าผู้ป่วยอาจไม่ได้ตั้งใจก้าวร้าวหรือหงุดหงิด แต่มาจากออาการของโรค ซึ่งการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ อาจเริ่มจาก การจัดห้องโดยใช้สีสว่างๆ อยู่จุดที่อากาศถ่ายเท โล่ง โปร่ง สร้างความรู้สึกสบายใจ


นอกจากนี้ ควรเก็บมีด หรืออุปกรณ์อันตรายให้ห่างไกลผู้ป่วย เก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด และปิดวาล์วแก๊สไว้เสมอ


ที่มา: โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Facebook: TNN Health

Photo Credit: Getty Image

.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง