TNN online ก้อง ห้วยไร่ เล่าภรรยาขอปลูก "ต้นยางนา" ผ่านไป 5 ปีเก็บเห็ด รายได้งาม!

TNN ONLINE

บันเทิง

ก้อง ห้วยไร่ เล่าภรรยาขอปลูก "ต้นยางนา" ผ่านไป 5 ปีเก็บเห็ด รายได้งาม!

ก้อง ห้วยไร่ เล่าภรรยาขอปลูก ต้นยางนา ผ่านไป 5 ปีเก็บเห็ด รายได้งาม!

รู้จัก "ต้นยางนา" ก้อง ห้วยไร่ แชร์ประสบการภรรยาปลูกไว้เห็ดขึ้น ขายได้วันละ 6,000 บาท

รู้จัก "ต้นยางนา" ก้อง ห้วยไร่ แชร์ประสบการภรรยาปลูกไว้เห็ดขึ้น ขายได้วันละ 6,000 บาท


เรียกว่าตอนนี้กำลังเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก เมื่อนักร้องหนุ่ม "ก้อง ห้วยไร่" ได้โพสต์เล่าประสบการณ์ปลูกต้นยางนา ที่เคยขำ แต่วันนี้กลับสร้างรายได้ แถมยังได้ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้โลกด้วย โดยระบุว่า "เริ่มต้นจากเบลบอกว่าหนูเคยเห็นในเนHตว่า ถ้าปลูกต้นยางนาแล้วจะได้เห็ดไว้กิน เราก็หัวเราะ แต่ก็ไม่อยากขัด เลยขอพื้นที่ทุ่งนาของพ่อกับแม่ 4 ไร่ ที่เคยปลูกข้าว หลังจากนั้นก็ไปซื้อต้นยางนาที่ อำเภอวานรนิวาสมา 450 ต้น แล้วนำมาปลูกไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ต้นละ 10 บาท ทุกวันนี้เก็บได้วันละ 10 กก. ถ้าขายก็จบวันละ 6000 บาท โคตรจ๊าบเลย ได้ป่า ได้ออกซิเจน ได้เห็ด ได้เงิน มาปลูกป่ากันเถอะ"



รู้จักต้นยางนา


ไม้ยางนา เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในวงศ์ Dipterocapaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb. เป็นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่เสมือนเป็นพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ พบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบชายลำธารในป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous forest) ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 600 เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียจากตอนใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยไม้ยางนามีชื่อสามัญหรือชื่อพื้นเมืองหลายชื่อตามภูมิภาค เช่น ประเทศไทย เรียกว่า ยางนา ยางขาว ยาง ยางน้ำ ยางหยวก ยางกุง ในระดับจังหวัด เช่น จังหวัดเลย เรียกว่า ยาวควาย จังหวัดหนองคาย เรียกว่า ยางเนิน จังหวัดจันทบุรี เรียกว่า ราลอย จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่า ลอยด์ เป็นต้น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่ ดอกออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆแบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกขนาด 4 เซนติเมตร สีชมพูอ่อน ช่อละ 4-5 ดอก 



ก้อง ห้วยไร่ เล่าภรรยาขอปลูก ต้นยางนา ผ่านไป 5 ปีเก็บเห็ด รายได้งาม! ภาพจาก โครงการ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศยางนาในจังหวัดขอนแก่น

 



ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวมๆ เป็นช่อห้อยยาวถึง 12 เซนติเมตร ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ส่วนปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีแฉกยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุม เกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์รูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรตัวเมียอ้วน และมีร่อง ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มจนมิด ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีปีกขนาดใหญ่ 2 อัน ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง สีแดงอมชมพู กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร  ยาว 11-15 เซนติเมตร 


เมื่อสุกสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนกลางผล มีครีบตามยาว 5 ครีบ เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2.2-2.8 เซนติเมตร มี 1 เมล็ดต่อผล เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม มักขึ้นในป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-400 เมตร ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม


สรรพคุณ


ตำรายาไทย น้ำต้มเปลือก กินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อนๆ) แก้ปวดตามข้อ ต้นมีน้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณห้ามหนองและสมานแผล ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน ใช้ยาเครื่องจักสาน ทาไม้ อุดเรือรั่ว และผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือทำไต้ น้ำมันยางผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Roxb.) คั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้อุดฟันแก้ฟันผุ น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว จิบเป็นยาขับเสมหะ





ที่มา โครงการ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศยางนาในจังหวัดขอนแก่น / ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพจาก ก้อง ห้วยไร่ อีหลีหนิ่หล่ะ / โครงการ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศยางนาในจังหวัดขอนแก่น




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง