TNN online กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน? มีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก

TNN ONLINE

Earth

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน? มีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน? มีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า 7-13 กรกฎาคม 2566 พื้นที่ไหน? มีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า  7-13 กรกฎาคม 2566 พื้นที่ไหน? มีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก


กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ขณะที่ในช่วงวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2566 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง 


คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม  2566


ภาคเหนือ


ช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส


ภาคกลาง


ในช่วงวันที่ 8 - 13 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 25 66

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส


ภาคตะวันออก


ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2  เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส


ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)


ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)


ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 และ 12 - 13 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล


ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. 

อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 37 องศาเซลเซียส




ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก TNN ONLINE


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง