TNN online "พายุฤดูร้อน" กระทบไทยถึงพรุ่งนี้! จับตาพายุหมุนเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นถล่มซ้ำอีกรอบ

TNN ONLINE

Earth

"พายุฤดูร้อน" กระทบไทยถึงพรุ่งนี้! จับตาพายุหมุนเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นถล่มซ้ำอีกรอบ

พายุฤดูร้อน กระทบไทยถึงพรุ่งนี้! จับตาพายุหมุนเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นถล่มซ้ำอีกรอบ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศเตือนฉบับ 7 "พายุฤดูร้อน" กระทบไทยถึงพรุ่งนี้ 10 พฤษภาคม 2566 จับตาพายุหมุนเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นถล่มซ้ำ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศเตือนฉบับ 7 "พายุฤดูร้อน" กระทบไทยถึงพรุ่งนี้ 10 พฤษภาคม 2566 จับตาพายุหมุนเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นถล่มซ้ำอีกรอบ ช่วง 11-14 พฤษภาคม 2566


ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 มีผลกระทบถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566

ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง

ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด


จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบพายุฤดูร้อน มีดังนี้


วันที่ 9 พฤษภาคม 2566


ภาคเหนือ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์และสุรินทร์

ภาคกลาง

จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม

ภาคตะวันออก

จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา


วันที่ 10 พฤษภาคม 2566


ภาคเหนือ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง

จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก

จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา


อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-15 พฤษภาคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าอ่าวเบงกอลตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง