TNN online 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”

TNN ONLINE

Earth

2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”

 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”

Climate: ปี 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” หลัง “ปรากฏการณ์ลานีญา” 3 ปีซ้อน ได้สิ้นสุดลงไปแล้วต้นมี.ค. ที่ผ่านมา หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศออสเตรเลีย ประกาศเมื่อวันที่ 14 มี.ค.66 .

นักวิทยาศาสตร์ เตือนว่าขณะนี้โลกกำลังจะเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” จะส่งผลกระทบทำให้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นและอาจเกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก หลังจากเพิ่งจบ  “ปรากฏการณ์ลานีญา”  ที่ต่อเนื่องยาวนาน ถึง 3 ปีซ้อน เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2563 จนทำให้เกิดฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกติดต่อกันนานผิดปกติถึง 3 ปี ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศออสเตรเลียประกาศว่า “ลานีญา” ได้สิ้นสุดลงแล้ว


กรมอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย ระบุว่า ขณะนี้รูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้น อยู่ในสภาวะเป็นกลาง ซึ่งตามปกติแล้ว โลกของเราจะเกิดขึ้นระหว่างการสลับไปมาระหว่างปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” และ “ลานีญา” ก่อนหน้านี้ โลกเผชิญกับ “ลานีญา” ถึง 3 ปีซ้อน ล่าสุดขณะนี้อยู่ในสภาวะเป็นกลาง นั่นหมายความว่า นี่คือสัญญาณที่โลกกำลังผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุค "เอลนีโญ" ในเร็ว ๆ นี้ 


สำหรับ ปรากฏการณ์เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียมีฝนน้อยลงและภัยแล้งจะรุนแรง และยาวนานขึ้น ตรงกันข้ามกับบริเวณชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้ ที่จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น 


นอกจากนี้ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ยังทำให้เกิดคลื่นความร้อนและภัยแล้งเป็นบริเวณกว้าง เพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยเฉพาะจุดที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะอุ่นขึ้น กระแสลมกรดในแถบนั้นเคลื่อนตัวพัดลงใต้ นำพาอากาศร้อนและแห้งไปยังแถบตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมากขึ้น ปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานครั้งละประมาณ 12-18 เดือน 


ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนก.ย.63 จนถึงมี.ค.66 โลกได้เกิดลานีญา นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ยากมากที่จะเกิดติดต่อกันได้นานขนาดนี้ ตามสถิติแล้วโลกของเรามีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่ได้เกิดปรากฎการณ์ลานีญา 3 ปีซ้อน นั่นคือช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2516-2519 และ พ.ศ.2541-2544 


สำหรับ ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ คือ ภาวะที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C และผลกระทบของลานีญา ก็มักจะตรงกันข้ามกับของเอลนีโญ คือทำให้ฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในแถบแปซิฟิก


Met Office หรือสำนักพยากรณ์อากาศของสหราชอาณาจักรคาดการณ์ว่า อุณหภูมิในปี 2566 จะร้อนแรงกว่าปี 2565 ผลกระทบอื่น ๆ ของปรากฏการณ์เอลนีโญ ได้แก่ สภาพอากาศที่แห้งและร้อนขึ้นในออสเตรเลีย ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงไฟป่าที่มากขึ้น น้ำท่วมในพื้นที่ตะวันออกของอเมริกาใต้ เช่น เปรูและเอกวาดอร์ และความแห้งแล้งในภูมิภาคแอมะซอน และเอลนีโญยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถลดการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดพายุเฮอริเคนน้อยลง นั่นหมายถึง ภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”


 2566 โลกเตรียมเผชิญ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ”




ที่มา: bbc.com


_____

ติดตามข่าวสภาพอากาศ และเช็กจุดฝนตก น้ำท่วม ถนนรถติด ผ่าน TNN EARTH

Website : https://bit.ly/3MXvq5I 

Youtube : https://bit.ly/3MZUVmK

TikTok : https://bit.ly/3naJL4p

Facebook : https://bit.ly/3bxVMy0

Line : https://lin.ee/rPHmFpD

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง