TNN "พายุฤดูร้อน" กรมอุตุนิยมวิทยา กางแผนที่จังหวัดเสี่ยงฝนตกหนัก-ลมแรง

TNN

Earth

"พายุฤดูร้อน" กรมอุตุนิยมวิทยา กางแผนที่จังหวัดเสี่ยงฝนตกหนัก-ลมแรง

พายุฤดูร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา กางแผนที่จังหวัดเสี่ยงฝนตกหนัก-ลมแรง

"พายุฤดูร้อน" กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ กางแผนที่รายชื่อจังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัย พายุฝนคะนองและลมกระโชกแรง

"พายุฤดูร้อน" กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ กางแผนที่รายชื่อจังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนคะนองและลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ช่วงวันที่ 20 – 24 มีนาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก 

ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้  

ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป 

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 มี.ค. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2566


พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงสูง

ลำปาง พะเยา น่าน เลย

พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงปานกลาง

แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ หนองคาย ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี


พายุฤดูร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา กางแผนที่จังหวัดเสี่ยงฝนตกหนัก-ลมแรง

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา



ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวแนะนำ