TNN พยากรณ์สภาพอากาศ ฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มเมื่อไร? อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ

TNN

Earth

พยากรณ์สภาพอากาศ ฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มเมื่อไร? อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ

พยากรณ์สภาพอากาศ ฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มเมื่อไร? อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ

พยากรณ์สภาพอากาศฤดูร้อน ของประเทศไทย “อากาศร้อน” เริ่มแบบจริงจังเมื่อไร? คาดการณ์อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ

พยากรณ์สภาพอากาศฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มแบบจริงจังเมื่อไร? คาดการณ์อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ

วันนี้ ( 3 มี.ค. 66 )เพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย ได้โพสต์ข้อมูล พยากรณ์การเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศไทย อากาศร้อนจะเริ่มชัดเจน เมื่อไร? โดยระบุว่า "8-9 มี.ค. อุณหภูมิสูงสุด เพิ่มขึ้นชัดเจน" ! สังเกตบริเวณสีแดงกับแดงเข้ม !


มาดูพยากรณ์อุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวันกันบ้าง อยู่พื้นที่ไหนเล็งกันได้เลย !


- สีเหลือง อุณหภูมิสูงสุดน้อยกว่า 30 องศา 

-  สีส้ม อุณหภูมิสูงสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 35 องศา

-  สีแดง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 35 แต่น้อยกว่า 38 องศา

- สีแดงเข้ม อุณหภูมิสูงสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศา

รูปนี้แสดงพยากรณ์อุณหภูมิเวลา 16.00 น. ของแต่ละวัน 


พยากรณ์สภาพอากาศ ฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มเมื่อไร? อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ


ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา แถลง “การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2566” โดยระบุว่า  ประเทศไทยสิ้นสุดฤดูหนาวและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนในวันที่ 5 มีนาคม 2566  โดยจังหวัดที่มีอากาศร้อนสูงสุดมีดังนี้


จังหวัดที่คาดว่าอุณหภูมิจะสูง ได้แก่ 


จังหวัดสุโขทัย ตาก ลำปาง และแม่ฮ่องสอน สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิสูงสุด 38-39 องศาเซลเซียส


พยากรณ์สภาพอากาศ ฤดูร้อน “อากาศร้อน” เริ่มเมื่อไร? อุณหภูมิสูงสุดกี่องศาฯ


เช็กสภาพอากาศช่วงเปลี่ยนฤดูจากปลายฤดูหนาวไปต้นฤดูร้อน (ปลาย ก.พ.-กลาง มี.ค.)


บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น เนื่องจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปะทะกับอากาศประเทศไทยที่เริ่มร้อนขึ้น ต่อมาในช่วงกลางฤดูร้อน (กลาง มี.ค.-เม.ย.) ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกับมวลอากาศเย็นจาก ประเทศจีน และลมที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทย 

ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ก็จะส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยจะมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนในวันแรก ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีผลกระทบในวันถัดไป 

ช่วงท้ายของการแถลง อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเปิดเผยคาดการณ์ปริมาณฝนในปี 2566 โดยกล่าวว่า ปีนี้กรมอุตุฯ คาดว่าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนใกล้เคียงค่าปกติ ภาคใต้ปริมาณฝนจะมากกว่าค่าปกติเล็กน้อย อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในปลายเดือนมิถุนายนและต้นเดือนกรกฎาคม ดังนั้นจึงขอให้พี่น้องเกษตรกรวางแผนรับมือกักเก็บสำรองน้ำไว้ใช้เพาะปลูกและติดตามคาดหมายสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่องไว้ด้วย.


ข้อมูลจาก :เพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย ,กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก : เพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย ,กรมอุตุนิยมวิทยา , AFP

ข่าวแนะนำ