TNN เตือนพายุเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด อุตุฯชี้แจงแล้ว?

TNN

Earth

เตือนพายุเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด อุตุฯชี้แจงแล้ว?

เตือนพายุเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด อุตุฯชี้แจงแล้ว?

สภาพอากาศ พายุไต้ฝุ่นเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด ฝนเทกระหน่ำทุกพื้นที่ ระวังน้ำป่าไหลหลากถึงวันที่ 4 ก.พ. 66 จริงหรือ ล่าสุดอุตุฯชี้แจงแล้ว?

 สภาพอากาศ พายุไต้ฝุ่นเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด ฝนเทกระหน่ำทุกพื้นที่ ระวังน้ำป่าไหลหลากถึงวันที่ 4 ก.พ. 66 จริงหรือ ล่าสุดอุตุฯชี้แจงแล้ว?


จากกรณีที่มีการประกาศเตือนภัยพิบัติโดยระบุว่าพายุไต้ฝุ่นเตรียมเข้าไทย ประกาศพื้นที่สีแดง 52 จังหวัด ฝนเทกระหน่ำทุกพื้นที่ ระวังน้ำป่าไหลหลากถึงวันที่ 4 ก.พ. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า คำประกาศเตือนดังกล่าวไม่ได้มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา จากการติดตามพยากรณ์อากาศ ระหว่างวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ตลอดช่วง 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า


ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2 – 7 ก.พ. 66 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ตลอดช่วง


ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.พ. 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2 เมตร


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสน และตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th โทรสายด่วน 1182


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : คำประกาศเตือนดังกล่าวไม่ได้มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา จากการติดตามพยากรณ์อากาศ ระหว่างวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า





ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ