"ฤดูร้อน 2566"เริ่มเมื่อไหร่? ปีนี้ร้อนสุดถึง 43 องศาฯ เช็กอุณหภูมิแต่ละภาคที่นี่

กรมอุตุฯ คาดการณ์ "ฤดูร้อนของไทย 2566" จะช้ากว่าปกติประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ อุณหภูมิสูงสุด 40 - 43 องศาฯ สภาพอากาศแต่ละภาคเป็นอย่างไรเช็กเลยที่นี่
กรมอุตุฯ คาดการณ์ "ฤดูร้อนของไทย 2566" จะช้ากว่าปกติประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ อุณหภูมิสูงสุด 40 - 43 องศาฯ สภาพอากาศแต่ละภาคเป็นอย่างไรเช็กเลยที่นี่
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2566 ช่วงประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566 (ออกประกาศวันที่27 มกราคม พ.ศ. 2566)
ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะช้ากว่าปกติประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน สลับกับจะมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใกล้เคียงกับค่าปกติ(ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) แต่จะสูงกว่าปีที่แล้ว (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2565 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส) และปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะใกล้เคียงค่าปกติ
ข้อควรระวัง ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี มักจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ดังนั้นประชาชนจึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเตรียมการป้องกันสภาวะดังกล่าว
บริเวณประเทศไทยตอนบน
ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนมีนาคม จะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวันกับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จะมีกำลังอ่อนและไม่ต่อเนื่อง จากนั้นจนถึงปลายเดือนเมษายน จะมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่อุณหภูมิสูงที่สุด 40 - 43 องศาเซลเซียส และจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกลงในบางแห่ง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลง
เนื่องจากจะมีหย่อมความกดอากาศต่่ำ เหตุความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ประกอบกับจะมีตะวันออกเฉียงใต้หรือลมใต้พัดพาความชื้นจากทะเลอ่าวไทยเข้าปกคลุม ส่วนช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวหลายพื้นที่ในบางช่วงกับจะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่หรือลมใต้พัดปกคลุม จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทน
ภาคใต้
ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือนเมษายน จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ คลื่นลมทั้งทะเลอ่าวไทยและอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ทั้งนี้เนื่องจาก ลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วงจากนั้นจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีก าลังแรงขึ้น ในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร
ส่วนทะเลอ่าวไทยยังคงมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร เนื่องจากลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้แทน




ที่มา กรมอุตุฯ
ภาพจาก AFP