TNN online จริงหรือ? เตือน 27 จังหวัดเตรียมรับมือ "พายุลูกแรก" ของปี 2566

TNN ONLINE

Earth

จริงหรือ? เตือน 27 จังหวัดเตรียมรับมือ "พายุลูกแรก" ของปี 2566

จริงหรือ? เตือน 27 จังหวัดเตรียมรับมือ พายุลูกแรก ของปี 2566

จริงหรือ? เตือน 27 จังหวัดเตรียมรับมือ "พายุลูกแรก" ของปี 2566 ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยายืนยันเป็นข้อมูลเท็จ

ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรมอุตุฯ เตือน 27 จังหวัดเตรียมรับมือพายุลูกแรกปี 66 ความเร็วลม 127 กม./ชม. พุ่งเป้าถล่มไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการส่งต่อคำเตือนเรื่องภัยพิบัติโดยระบุว่าทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข้อมูลเตือนดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยสภาพอากาศ ในช่วง 7 วันข้างหน้านั้น ระหว่างวันที่ 5 – 11 มกราคม 2566 ในช่วงวันที่ 6 – 8 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น

ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ปลายบริเวณแหลมญวน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 11 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสน และตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th โทรสายด่วน 1182




ข้อมูลจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง