TNN online คาดการณ์อากาศปี 66 ทั่วโลกเจอ “เอลนิโญ” คาด “ร้อน-แล้ง” ผิดปกติ

TNN ONLINE

Earth

คาดการณ์อากาศปี 66 ทั่วโลกเจอ “เอลนิโญ” คาด “ร้อน-แล้ง” ผิดปกติ

คาดการณ์อากาศปี 66 ทั่วโลกเจอ “เอลนิโญ” คาด “ร้อน-แล้ง” ผิดปกติ

นักวิชาการชี้ ปี 66 “เอลนีโญ” อาจทำไทย เจออากาศร้อน-ภัยแล้ง รุนแรงกว่าปกติ

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์เฟซบุ๊ค Witsanu Attavanich ติดตามความคืบหน้าเรื่องของการเกิดลานีญา และ เอลนิโญ ระบุว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาอยู่ที่ 99% และคาดว่าจะลดกำลัง และเปลี่ยนเป็นเฟสกลางช่วง ก.พ.-เม.ย. เอลนีโญจะค่อย ๆ เพิ่มกำลัง และอาจกลับมาช่วงปลายปี 66    


โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และพื้นที่ด้านตะวันตก จะมีอากาศหนาวเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติช่วง ม.ค.-ก.พ. 66 ส่วนฤดูแล้งในปี 66 คาดการณ์ว่า น่าจะไม่แล้งมาก แต่ฝนจะน้อยกว่าฤดูแล้งปี 65 และฤดูฝนปีหน้า น่าจะมาปกติ  


ขณะที่ International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาอยู่ที่ 99% ช่วง พ.ย.65-ม.ค.66 และจะค่อย ๆ ลดลงจากนี้ไป กำลังของลานีญาจะค่อย ๆ ลดลงด้วย โดยจะเปลี่ยนเป็นเฟสกลางด้วยความน่าจะเป็น 71% ในช่วง ก.พ.-เม.ย. 66 จากนั้นช่วง ก.ค.-ก.ย.66 ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญจะเพิ่มเป็น 49% ดังนั้น เราอาจเจอเริ่มเจอภัยแล้งและอากาศร้อนกว่าปกติช่วงไตรมาส 4 ของปี 66 เป็นต้นไป 


นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ฤดูแล้งปี 66 น่าจะไม่แล้งมาก แต่ฝนจะน้อยกว่าฤดูแล้งปี 65 และฤดูฝนปีหน้าน่าจะมาปกติ ไม่เร็วมากเหมือนปี 65 ช่วง ม.ค.-มี.ค. ทางด้านตอนกลางและตอนล่างของภาคอีสานจะมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย และช่วง ก.พ.-เม.ย. ภาคเหนือ ภาคกลางบางส่วน และด้านตะวันตกจะมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ส่วนภาคใต้คาดว่าจะมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติยาวไปถึง พ.ค. 66 


ขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และทางด้านตะวันตก จะมีอากาศหนาวเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติในช่วง ม.ค.-ก.พ. 66 ด้วยอิทธิพลของลานีญา ขณะที่ภาคเหนือช่วง ม.ค.-เม.ย. 66 อากาศมีแนวโน้มร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และช่วง ก.พ.-เม.ย. 66 อุณหภูมิมีแนวโน้มเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติในเกือบทุกภูมิภาค ช่วง เม.ย.-มิ.ย. ภาคใต้ ภาคเหนือตอนบน และภาคอีสาน อากาศจะร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติ   


ที่มา: Facebook Witsanu Attavanich 

ข่าวแนะนำ