TNN online เตือนด่วนจังหวัดไหนกระทบบ้าง? เสี่ยงน้ำหลาก-น้ำท่วมฉับพลัน ช่วง 26-31 ส.ค.

TNN ONLINE

Earth

เตือนด่วนจังหวัดไหนกระทบบ้าง? เสี่ยงน้ำหลาก-น้ำท่วมฉับพลัน ช่วง 26-31 ส.ค.

เตือนด่วนจังหวัดไหนกระทบบ้าง? เสี่ยงน้ำหลาก-น้ำท่วมฉับพลัน ช่วง 26-31 ส.ค.

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศเตือนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ช่วง 26 - 31 สิงหาคม 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 33/2565 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 26 - 31 สิงหาคม 25651 

ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม บริเวณอำเภอกันทรวิชัย และเมืองมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณอำเภอกมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย และร่องคำจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอจังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เสลภูมิ และอาจสามารถ จังหวัดยโสธร บริเวณอำเภอค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอกันทรารมย์ และยางชุมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณอำเภอเขื่องใน และเมืองอุบลราชธานี 

2. สภาพอากาศ

การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 25 - 26 ส.ค. 65 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก 

ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ส.ค. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง 

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “หมาอ๊อน” (MA-ON) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนอยู่ห่างประมาณ 430 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฮ่องกง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในวันที่ 25 ส.ค. 65 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

3. สถานการณ์น้ำท่วม

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง 

โดยตั้งแต่วันที่ 15 – 24 สิงหาคม 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 28 จังหวัด (เชียงราย ลําปาง แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร ลําพูน ตาก นครสวรรค์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ มุกดาหาร บึงกาฬ ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานีปราจีนบุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง พังงา และภูเก็ต) 74 อำเภอ 193 ตำบล 627 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบ 14,657 ครัวเรือน 

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 12 จังหวัด (ภาคเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม และภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี)


ข้อมูลจาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ภาพจาก TNN ONLINE (แฟ้มภาพ)

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง