TNN online ฤดูหนาวนี้ ทุบสถิติเกิด “น้ำค้างแข็ง” มากที่สุด

TNN ONLINE

Earth

ฤดูหนาวนี้ ทุบสถิติเกิด “น้ำค้างแข็ง” มากที่สุด

ฤดูหนาวนี้ ทุบสถิติเกิด “น้ำค้างแข็ง” มากที่สุด

ฤดูหนาวนี้ หนาวนาน ทำให้เกิดน้ำค้างแข็งต่อเนื่องและทุบสถิติการเกิดน้ำค้างแข็งมากที่สุดในรอบ 5 ปี บริเวณยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับน้ำค้างแข็ง ปกติแล้วจะเกิดบนยอดดอย ยอดภู ในช่วงที่อากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม แต่กุมภาพันธ์ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน หากมีปัจจัยทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างฮวบฮาบ อย่างเช่นคลื่นกระแสลมตะวันตกจากเมียนมาหรือความกดอากาศสูงจากจีนที่แผ่ลงมา สำหรับ ภาคอีสานจะเรียกน้ำค้างแข็งว่า แม่คะนิ้ง แต่ถ้าเป็นภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า เหมยขาบ น้ำค้างแข็งนั้น เกิดจาก ไอน้ำที่อยู่ใกล้พื้นดิน มีอุณหภูมิลดลงจนถึงจุดเยือกแข็ง คือต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้ไอน้ำหรือน้ำค้างนั้นแข็งตัว กลายเป็นน้ำแข็งเล็ก ๆ ข้อดีก็คือ สร้างความสวยงาม นักท่องเที่ยวชื่นชอบ แต่ข้อเสียก็มีนะคะ เพราะจะไปสร้างความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโตได้ น้ำค้างแข็ง นั้นต่างจาก “หิมะ” ตรงที่หิมะนั้นเกิดขึ้นในเขตภูมิอากาศอบอุ่น และหนาวเย็นของโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น หรือแถบอเมริกา ยุโรป หิมะนั้นจะเกิดได้ นอกจากพื้นที่นั้น อุณหภูมิต้องติดลบติดต่อกันหลายวันแล้ว ในอากาศต้องมีความชื้นที่เหมาะสม จากนั้นไอน้ำจะกลั่นตัวในอากาศ กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งโปรยปรายลงมาจากท้องฟ้า ส่วนน้ำค้างแข็ง เป็นไอน้ำบริเวณพื้นดิน หรือหยดน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามใบหญ้า หรือวัตถุต่างๆ สำหรับประเทศไทย แทบจะไม่มีโอกาสเกิดหิมะตก เป็นเพราะว่าประเทศไทยไกลจากแถบขั้วโลกมาก อากาศร้อน ไม่มีปัจจัยที่เอื้อต่ออากาศหนาวและการเกิดหิมะได้ เกิดได้มากที่สุดก็เห็นจะเป็นเพียงน้ำค้างแข็งบนยอดดอย และยอดภูในภาคเหนือและอีสานเท่านั้น

ข่าวแนะนำ