TNN online (คลิป) เตือนธารน้ำแข็ง“เอเวอเรสต์”ละลายเร็ว 25 ปีบางลงเกือบ 25 เมตร!

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป) เตือนธารน้ำแข็ง“เอเวอเรสต์”ละลายเร็ว 25 ปีบางลงเกือบ 25 เมตร!

(คลิป) เตือนธารน้ำแข็ง“เอเวอเรสต์”ละลายเร็ว 25 ปีบางลงเกือบ 25 เมตร!

ทีมนักวิจัย ซึ่งนำโดยนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ เปิดเผยสถานการณ์ที่น่าวิตกของธารน้ำแข็งบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งที่สูงที่สุดในโลก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่ง เป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์


ผลการวิจัยใหม่นี้ ระบุว่า ธารน้ำแข็งบนภูเขาที่สูงสุดในโลก อย่าง "เอเวอเรสต์" กำลังละลายอย่างรวดเร็ว เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจากการกระทำของมนุษย์ การค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนได้ลุกลามไปถึงหลังคาโลก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่สูงสุดในโลก โดยผลการวิจัยระบุว่า ธารน้ำแข็งเซาท์คอล บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 7,906 เมตร บางลง 54.86 เมตรในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา หรือ ละลายเร็วกว่าการสะสมตัวของน้ำแข็ง 80 เท่า //ขณะที่ อัตราการสะสมของน้ำแข็งในความหนาดังกล่าวต้องใช้เวลานานกว่า 2,000 ปี ทีมวิจัยยังพบอีกว่า ทุ่งหิมะที่เกิดจากการทับถมกันบนธารน้ำแข็งถูกกัดเซาะออกไปด้วย ส่งผลให้น้ำแข็งที่อยู่ด้านล่างถูกแสงแดดมากขึ้น //ซึ่งเป็นตัวเร่งกระบวนการการละลายให้เร็วขึ้นไปอีก


ศาสตราจารย์พอล เมเยอสกี ผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากมหาวิทยาลัยเมนในสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมวิจัย บอกว่า ธารน้ำแข็งของเอเวอเรสต์ ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาความสมดุลที่ละเอียดอ่อน //และตอนนี้หลังคาโลก กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน อันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ 


นอกจากนี้ การที่ธารน้ำแข็งละลายเร็วกว่าที่คิดไว้มาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดหิมะถล่ม เป็นอันตรายต่อชีวิตนักไต่เขาราว 800 คน ที่พยายามพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ในทุกๆปี ไม่เพียงแค่นั้น ประชาชนกว่า 1,000 ล้านคนในเอเชีย พึ่งพาน้ำดื่มจากธารน้ำแข็งของเทือกเขาหิมาลัย หากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต 


งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยข้อมูลจากภารกิจสำรวจยอดเขาเอเวอเรสต์ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และภารกิจเพื่อโลกของโรเล็กซ์ เมื่อปี 2019 ที่ส่งนักวิทยาศาสตร์ 10 คนไปสำรวจธารน้ำแข็งบนยอดเขาเอเวอเรสต์ที่อยู่ทางฝั่งประเทศเนปาล พร้อมทั้งติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ 2 สถานี และสกัดตัวอย่างแกนน้ำแข็ง


การหาอายุวัตถุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี พบว่าน้ำแข็งบริเวณพื้นผิวมีอายุราว 2,000 ปี ซึ่งหมายความว่าน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมาละลายไปหมดแล้ว //ทั้งยังเป็นการยืนยันว่าธารน้ำแข็งบนยอดเขาสูงที่สุดในโลกได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากน้ำมือมนุษย์มาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง