TNN online “QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

TNN ONLINE

Wealth

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

การโอนเงิน การซื้อสินค้าและบริการ การชำระค่าสาธารณูปโภค การบริจาคเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังเป็นที่จับตามองในโลกการชำระเงินขณะนี้คือ “ QR Payment” หรือ QR Code

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ต้นกำเนิด” ของ QR Code  ซึ่งเริ่มในปี 1994 โดยบริษัท Denso-Wave ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาสัญลักษณ์ “สี่เหลี่ยม” ขึ้นมาจาก barcode แบบธรรมดา หรือ barcode 1 มิติ  บนแท่งที่มีความหนาบางต่างกัน ให้มีความกว้างและยาวเป็น 2 มิติ ทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท จนทำให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเรียกเจ้าสัญลักษณ์นี้ว่า QR Code ย่อมาจาก Quick Response Code 

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

ทั้งนี้  QR Code สามารถเก็บข้อมูลได้ 7,089 ตัวเลข ในขณะที่ barcode เก็บได้เพียง 20 ตัวเลข  หรือคิดเป็น 350 เท่า 

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”
QR Code เก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการทั้งแบบออนไลน์ และที่ร้านค้า โดยมี 2 รูปแบบ
1. Static - QR Code จะไม่เปลี่ยนแปลง ร้านค้าพิมพ์เพียงครั้งเดียวและติดไว้ที่หน้ารานได้ตลอด โดยลูกค้าจะต้องกรอกจำนวนเงินเอง
2. Dynamic - QR Code จะเปลี่ยนในทุกรายการ เช่น QR Code ที่ถูกสร้างจากแอพพลิเคชั่นมือถือ ที่มีการระบุราคาสินค้าในแต่ละรายการ 

สำหรับประเทศไทย ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ได้ร่วมมือกับผู้บริการเครือข่ายบัตรระดับโลกทั้ง 5 แห่ง  ได้แก่  American Express, JCB International, Mastercard, VISA และ UnionPay International รวมถึงผู้บริการทางการเงินในไทย เปิดตัว “Thai QR Standard”  ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2018  

โดย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.วิรไท สันติประภพ  กล่าวในการเปิดตัว Thai QR Standard ในขณะนั้นว่า “ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในการสร้างมาตรฐานกลางของการชำระเงินด้วย QR Code ในประเทศไทย”  

Thai QR Standard จึงถูกนำมาใช้เป็น “มาตรฐานเดียวทั้งประเทศ ใช้ได้ทั่วโลก” สามารถรองรับการชำระเงินได้หลากหลาย ทั้งบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ e-Wallet ของผู้ให้บริการรายไหน ก็สามารถสแกน Thai QR Code ได้ ทำให้การชำระเงินทั้งในและต่างประเทศสะดวกและง่ายดาย 

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

และตั้งแต่เปิดให้มีบริการ QR Code ก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก  สะท้อนจากผลสำรวจ “The Future of Payments – อนาคตแห่งการใช้จ่าย” ซึ่งจัดทำโดยยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล และนีลเส็น เดือนกันยายน 2018  เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในไทย อายุระหว่าง 18 – 65 ปี จำนวน 400 คน ในเดือน  พบว่า 7 ใน 10 (ร้อยละ 71) ของผู้ตอบแบบสอบถามอยากให้ประเทศไทยเป็นสังคมไร้เงินสด และ 6 ใน 10 (ร้อยละ 60) รู้สึก “มั่นใจ” หากต้องใช้ชีวิตในสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบ  

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”
ซึ่งการชำระเงินผ่านมือถือกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยผู้บริโภคกว่าครึ่ง (ร้อยละ 53) ระบุว่าโดยเฉลี่ยใช้บริการชำระเงินผ่าน แพลตฟอร์ม และเกือบ 1 ใน 4 (ร้อยละ 22) ใช้จ่ายผ่าน 3 วิธีการชำระเงินผ่านมือถือหลักๆ ได้แก่ QR Code  การโอนเงินแบบ Peer-to-Peer (P2P) และการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless)
 
“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการชำระเงินแบบต่างๆ ผลสำรวจเผยว่า เงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้บริโภคไทย รองลงมาคือ QR Code ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 75  ตามมาด้วยการโอนเงินแบบ P2P  ร้อยละ 67 

ดังนั้น ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด บริการชำระเงินผ่านมือถือนับเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยเฉพาะ QR Code  เป็นวิธีที่ได้รับความ “นิยมสูงสุด” 

ความนิยมในการใช้ QR Code  น่าจะสะท้อนได้จากข้อมูลที่ ทีมระบบการชำระเงิน ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) รายงานล่าสุดซึ่งน่าสนใจคือ 

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”  

1.จุดรับ QR ณ ร้านค้าและผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยข้อมูลล่าสุด ณ ธันวาคม 2019  มีจุดรับ QR ประมาณ 6 ล้านจุด เพิ่มขึ้นจากราว 3 ล้านจุดในช่วงต้นปี 2018  หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 
ทั้งนี้ ในปี 2018 จุดรับ QR ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพและหัวเมืองหลัก กระจุกตัวเพียงบางธุรกิจ เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อ สายการบิน แต่ในปี 2019 จุดกระจายรับไปในพื้นที่ต่างจังหวัดครอบคลุมธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

2. ปริมาณธุรกรรม พบว่าใน 2019 มีประมาณธุรกรรมถึง 80 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากปี 2018 ถึง 110%

3. มูลค่าธุรกรรม ในปี 2019  มีจำนวน 160,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2018 ถึง 95%  และมากกว่าการโอนเงินผ่านสาขาถึง 30%

ทั้งนี้ แบงก์ชาติประเมินว่า ภาพรวมยอดการใช้ QR Code เติบโตก้าวกระโดด เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์เปิดตัวบริการใหม่ๆ ที่เชื่อมระหว่าง QR และ mobile banking ได้ ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ขณะที่แบงก์ชาติร่วมกับสมาคมธนาคาร พัฒนาบริการ MyPromptQR หรือ บริการจ่ายเงินผ่าน QR แบบร้านค้าเป็นผู้แสกน  นอกจากนี้แบงก์ชาติร่วมมือกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ลาว และกัมพูชา เพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายผ่าน QR ในต่างประเทศ

“QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”

การที่ QR Code  ได้รับความนิยม และเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองใน เพราะสามารถตอบโจทย์ที่สำคัญ หรือ “4 I” คือ  

Innovation  :  QR Code  ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้การชำระเงินสะดวกปลอดภัย มีต้นทุนต่ำ ทำให้ร้านค้ารับเงินง่าย จ่ายเงินคล่อง ประชาชนไม่ต้องพกเงินสดมากเกินไป และที่สำคัญคือ QR Code เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดบริการชำระเงินรูปแบบใหมๆ เช่น การผ่อนชำระสินเชื่อ การบริจาคเงิน  ซึ่งเป็นหัวใจการ “เข้าสู่” สังคมไร้เงินสด 

Inclusive  :  ด้วยนวัตกรรมการชำระเงินที่ดี ทำให้ร้านค้าต่าง ๆ ทั้งระดับใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้าไปจนถึงร้านรายเล็ก อย่างตลาดนัด ร้านข้างทาง แท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง สนใจรับเงินด้วย QR Code มากขึ้น ทำให้การเติบโตของจำนวนจุดรับชำระ QR เพิ่มสูงอยางก้าวกระโดดและกระจายตัว “เข้าถึง” ประชาชนมากยิ่งขึ้น 
 
Interoperability  : Thai QR Standard ทำให้การชำระเงินในประเทศและต่างประเทศสามารถใช้มาตรฐานร่วมกันได้ ซึ่งช่วยเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินระหว่างประเทศให้ “เข้ากัน” ด้วยความร่วมมือระหว่างแบงก์ชาติ กับธนาคารกลางประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ กัมพูชา มาเลเซีย ลาว และญี่ปุ่น รองรับการชำระเงินรายย่อยระหว่างลูกค้าและร้านค้าหลากหลายประเทศ

Information :  QR Payment ยังทำให้มีข้อมูลรายธุรกรรมซึ่งเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่ช่วยให้ “เข้าใจ” พฤติกรรมของร้านค้าและประชาชนได้ลึกซึ้งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อพัฒนาต่อยอดบริการให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการมากขึ้น เช่น การทำ credit scoring ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ 

จะเห็นว่า QR Payment  กำลังมาแรงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของโลกการชำระเงินที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าใกล้สังคมไร้เงินสด 

อย่างไรก็ดี เราคงต้องติดตามว่า ตั้งแต่ต้นมีการระบาดของโควิด -19  ปริมาณการใช้ QR Code และช่องทางชำระเงินดิจิทัลต่างๆ เป็นอย่างไร จะพุ่งแรง หรือเพิ่มขึ้นจนมีนัยสำคัญทำให้สังคมไทยขับเคลื่อนเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งทีมงานเศรษฐกิจไซต์มีความคืบหน้าจะนำมารายงานให้ทราบต่อไป 

ติดตามรายการเศรษฐกิจ Insight
ตอน “QR Code” หนึ่งในเทคโนโลยีของ “สังคมไร้เงินสด”


เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  
facebook : TNNThailand 
twitter : @TNNThailand 
Line : @TNNThailand 
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง