TNN online ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยยังไม่ถึง 15,000 บาท/เดือน

TNN ONLINE

Wealth

ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยยังไม่ถึง 15,000 บาท/เดือน

ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยยังไม่ถึง 15,000 บาท/เดือน

สถานการณ์การจ้างงานปรับตัวลดลง ส่วนการว่างานเพื่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ แม้แรงงานยังใจชื้นได้ว่าเวลาทำงานเท่าเดิมแต่อัตราค่าจ้างเฉลี่ยพบว่ายังไม่ถึงเเดือนละ 15,000 บาท ทำให้คนรุ่นใหม่หันไปหาอาชีพอื่นที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า

วันนี้ (26 พ.ย.62) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยว่า ไตรมาส 3/2562 ผู้มีงานทำลดลง 2.1% จากปีก่อนมี 38.7 ล้านคน มาอยู่ที่ 38 ล้านคน แบ่งเป็นการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 2.3% จาก 25.5 ล้านคน มาอยู่ที่ 24.9 ล้านคน ภาคเกษตรจ้างงานลดลง 1.8% จาก 12.8 ล้านคน มาอยู่ที่ 12.6 ล้านคน สะท้อนได้จากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.04%

สาเหตุเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และปัญหาภัยธรรมชาติการว่างงานเพิ่มขึ้นทั้งผู้ที่เคยทำงานและไม่เคยทำงานมาก่อน โดยผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้น 8.4% เห็นได้จากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 13.5% อยู่ที่ 172,412 คน ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้น 3% ส่วนหนึ่งเพราะเป็นช่วงที่ผู้จบการศึกษาใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 2.15%

โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาการผลิต สาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 5.2 4.1 และ 2.2 ตามลำดับ ขณะที่สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 1.0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมาก

สภาพัฒน์มองว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจยังไม่ปรากฏผลกระทบต่อตลาดแรงงานในไตรมาส 4/2562 มากนัก เพราะภาพรวมชั่วโมงการทำงานไตรมาส 3 เฉลี่ยยังทรงตัวอยู่ที่ 43.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  หากรวมการทำงานล่วงเวลา (โอที) ที่มากกว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 7.9% แม้อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น  เนื่องจากการปรับตัวของสถานประกอบการมีการปรับลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาลง และบางส่วนมีการปรับลดการจ้างแรงงานที่มีผลิตภาพและชั่วโมงการทำงานต่ำกว่า ทำให้โดยเฉลี่ยชั่วโมงการทำงานยังคงทรงตัวในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ 

ส่วนค่าจ้างแรงงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยค่าจ้างแรงงานโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 14,334 บาท/เดือน ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนเท่ากับ 12,847 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และ 2.5 ตามลำดับ เมื่อหักเงินเฟ้อที่ร้อยละ 0.6 ค่าจ้างที่แท้จริงของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ด้านผลิตภาพแรงงาน (มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อผู้มีงานทำ) พบว่า มีมูลค่า 69,329 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่มากกว่า 2 ล้านคน โดยเฉพาะในกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เกิดระหว่างปี 2524-2544 มีแนวโน้มไปประกอบอาชีพในรูปแบบใหม่ปีละประมาณ 300,000-600,000 คน โดยพบว่า  4 อาชีพยอดนิยม ได้แก่ กราฟิกดีไซน์ การค้าและโฆษณาออนไลน์ การทำเว็บ/โปรแกรมมิ่ง และงานเขียน/ แปลภาษา เพราะมีความเป็นอิสระ

จากจำนวนตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับตัวเลขาะตัวเลขจากกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยค่อนข้างน่ากังวลดูได้จากข้อมูลในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 มีผู้ประกอบการมาแจ้งจำหน่ายทะเบียนโรงงานหรือมาแจ้งเลิกกิจการแล้วจำนวนทั้งสิ้น 1,480 โรงงาน และการเลิกจ้างงานที่มีกว่า 37,263 คน  คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวมมากกว่า 56,957 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากหากเทียบเท่ากับจำนวนการลงทุนและพนักงานที่ได้รับผลจากการเลิกจ้างและครอบครัว


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง