TNN online จริงหรือเท็จ? มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด-19

TNN ONLINE

TNN Fact Check

จริงหรือเท็จ? มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด-19

จริงหรือเท็จ? มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด-19

ไขข้อสงสัย มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือเท็จ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีคำตอบ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องมันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ


จากกรณีที่มีการแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเมนูมันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด 19 ได้ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยยืนยันว่ามันเทศญี่ปุ่นและน้ำขิง ช่วยป้องกันโรคโควิด 19 หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาโรคใด ๆ ได้


เนื่องจากหัวมันเทศที่มีเนื้อสีเหลืองและสีส้มนั้น มีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้า – แคโรทีน 2 – 3 ซึ่งเป็นสารโปรวิตามินเอที่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้ ช่วยบำรุงสายตาและระบบภูมิคุ้มกัน สำหรับในมันเทศเนื้อสีม่วงจะมีสารที่เรียกว่าแอนโธไซยานิน 4 – 5 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดการเกิดมะเร็งจากการลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเกิดเนื้องอก ส่วนขิง (Zingiber officinale Roscoe) ตามพระคัมภีร์สรรพคุณยา 8 ได้กล่าวไว้ว่า ขิงสดมีรสหวานร้อนเผ็ด สามารถแก้ลมในกองธาตุให้กระจายเสีย แก้ลมพรรดึก แก้จุกเสียด แก้โรคในอกเจริญอาหาร แก้ไข้ 10 ประการให้สมบูรณ์ เหง้าช่วยเจริญอากาศธาตุ รากแก้ให้เสียงเพราะและเจริญอาหารเพียงเท่านั้น


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อย่างถูกต้อง ติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02-591-7007


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยยืนยันว่ามันเทศญี่ปุ่นและน้ำขิง ช่วยป้องกันโรคโควิด 19 หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาโรคใดๆได้


จริงหรือเท็จ? มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด-19 ภาพจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

 



ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP/ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ข่าวแนะนำ