TNN online "ซีพี" ปิดดีล "โลตัส" ลุยผงาดอาเซียน-ตลาดโลก

TNN ONLINE

TNN Exclusive

"ซีพี" ปิดดีล "โลตัส" ลุยผงาดอาเซียน-ตลาดโลก

ซีพี ปิดดีล โลตัส ลุยผงาดอาเซียน-ตลาดโลก

“เครือซีพี” ปิดดีลเข้าซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส”ในไทยและมาเลเซียได้สำเร็จ เพื่อร่วมกันเดินหน้าลุยธุรกิจค้าปลีกเต็มรูปแบบ

           เป็นเรื่องถูกจับตามองมาอย่างต่อเนื่อง กับกรณีกลุ่มบริษัท ซี.พี. ยื่นซื้อกิจการบริษัท เทสโก้ สโตร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ Tesco Store (Malaysia) Sdn. Bhd. เมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค. 2563 ล่าสุด ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา พิจารณาได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว โดยอนุมัติให้ควบรวมกิจการได้แบบมีเงื่อนไข ระหว่างกลุ่มบริษัท ซี.พี. ในนาม บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด  ที่ถือหุ้นโดย ซีพี ออลล์ 40%, เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 40% และ ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF 20% กับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ Tesco Store (Malaysia) Sdn. Bhd. ด้วยวงเงินถึง 10,576 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 338,445 ล้านบาท   

          หากจะดูผู้เล่นในตลาดค้าปลีกแล้ว จะเห็นว่าในอุตสาหกรรมค้าปลีกในบ้านเรา มีซูเปอร์มาร์เก็ต 1,200 ร้านค้า (0.26%), ไฮเปอร์มาร์ท 352 ร้านค้า (0.08%) , Cash&Carry 129 ร้านค้า (0.03%) ,มีร้านโชห่วยทั้งสิ้น 438,000 ร้านค้า (95.6%) ,ร้านสะดวกซื้อ 17,205 ร้านค้า (3.75%) และ ตลาดสด 1, 287 ร้านค้า (0.28%)  โดยในอดีต จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมค้าปลีก ที่เป็นรีเทลขนาดใหญ่ แบรนด์ชั้นนำกลับมีเจ้าของเป็นต่างประเทศ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถานการณ์กลับเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะทุนต่างชาติทยอยถอนทัพจากไทยจากเอเชียกลับบ้านเกิดทั้งหมดแล้ว เนื่องจากหลายสาเหตุแตกต่างกันไปแต่ละค่าย แต่สรุปปัญหาหลักๆ ก็คือ โดนพิษเศรษฐกิจของโลกเล่นงาน ต้องการลดต้นทุนควบคุมค่าใช้จ่ายโดยการโฟกัสตลาดบางภูมิภาค เป็นต้น

ซีพี ปิดดีล โลตัส ลุยผงาดอาเซียน-ตลาดโลก

        สำหรับประเทศไทยยังถือว่า การที่ “เครือซีพี” เข้าซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ในไทยและมาเลเซีย เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของจากสหราชอาณาจักรกลับมาสู่มือคนไทยอีกครั้ง เป็นกันชนทางเศรษฐกิจ ไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ ที่จะนำเข้าสินค้ามาแข่งกับคนไทย นอกจากนี้ เทสโก้ โลตัสเอง ก็เคยเป็นของซีพีมาก่อน หลังขายออกไปในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้การได้คืนกลับมาในช่วงวิกฤตโควิด หากผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จะติดปีกให้เทสโก้อย่างไรให้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ พร้อมกับยกระดับเอสเอ็มอี และคู่ค้าไปพร้อม ๆ กัน

ซีพี ปิดดีล โลตัส ลุยผงาดอาเซียน-ตลาดโลก

        ปัจจุบันซีพีมีธุรกิจกว่า 22 ประเทศทั่วโลก และลงทุนในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเซีย เฉพาะประเทศไทยประเทศเดียว ซีพีจ่ายภาษีให้รัฐถึงปีละกว่า 16,000 ล้านบาท แต่หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเซียแล้ว เชื่อหรือไม่ว่า หากเทียบกับบริษัทเกิดใหม่หลายบริษัทในอาเซียน อาทิ การีน่า สตาร์ทอัพใหญ่สุดในอาเซียน เจ้าของคือสิงค์โปร์ หรือในประเทศข้างเคียงคือ VNG ของเวียดนามที่เป็นยูนิคอร์นยุคเริ่มต้น เป็นต้นแบบให้กับหลายสตาร์ทอัพ Grab ของมาเลเซีย หรือ Go-Jek ของอินโดนีเซีย ยังไม่นับบริษัท อาลีบาบา และ เทนเซ็นต์ 2 แบรนด์จีน ซึ่งติดอยู่ใน 10 อันดับแรกแบรนด์ที่มูลค่าสูงที่สุดของโลก ซึ่งบริษัทเหล่านี้ เปรียบเสมือนปลาที่เร็วพร้อมจะมาบุกตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เพราะต่างชาติมีทุนหนา และการขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วทั่วบ้านทั่วเมือง อย่างที่เห็นในหลายปีที่ผ่านมา หากเทียบขนาดของซีพีแล้ว ไม่ได้เป็นยักษ์ใหญ่ ในมหาสมุทร และมีปลาหลากหลายสายพันธุ์ที่พร้อมเข้ามาบุกน่านน้ำไทย ดังนั้น การเข้าซื้อโลตัสของซีพี โจทย์ใหญ่คือ จะติดปีกโลตัส ให้คู่ค้าขยายตลาดบุกต่างประเทศได้อย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 เมื่อ LINE FRIENDS กลายเป็นเครื่องมือปรับภาพลักษณ์แบรนด์

 ส่องธุรกิจ"LINE FRIENDS"!คาแรกเตอร์ไลน์สุดฮิตจะมีธุรกิจอะไรบ้าง?

 เปิดเส้นทางปั้นแบรนด์"ยาหม่องไทย"ทำไมครองตลาด CLMV

 ไม่ได้มีดีแค่ตีป้อม!จาก"เกม"สู่อาชีพในอุตสาหกรรมดิจิทัล

          โดยจุดแข็งของซีพีคือ การออกไปสู้ในมหาสมุทร แทนที่จะเป็นปลาใหญ่ในบ่อเล็ก ซึ่งถือได้ว่าซีพีเป็นบริษัทไทย ที่ไปบุกเบิกธุรกิจในต่างประเทศมากที่สุดบริษัทหนึ่ง ทำให้เรียนรู้ความผิดพลาด เรียนรู้ความสำเร็จมาหลายสิบปี หลายคนอาจคิดว่าซีพีมีรายได้หลักจากในประเทศจากการขายสินค้าการเกษตร แต่ข้อเท็จจริงตามรายงานความยั่งยืนของเครือซีพี เป็นบริษัทที่ลงทุนกว่า 22 ประเทศ ทำตลาดกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เพราะเป็นธุรกิจอาหารและการเกษตร จึงสามารถไปได้ทุกแห่ง และรายได้ส่วนใหญ่กว่า 60-70% มาจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          การที่ “เครือซีพี” เข้าซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ในไทยและมาเลเซีย จะเป็นโอกาสที่คู่ค้า จะได้ขยายตลาดไปในต่างประเทศ รวมถึงการต่อท่อสินค้าไทยไปในตลาดภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น อาจเป็นโอกาสหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจรากหญ้า พัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้วโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง