TNN online แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!

TNN ONLINE

TNN Exclusive

แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!

แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!

เปิดวิธีการวางแผนจัดการหนี้ เมื่อต้องรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต พร้อมส่อง!ดอกเบี้ยแบงก์ไหนน่าสนใจที่สุด

        ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอย่างนี้ ภาระหนี้สินที่หนักหนาเอาการ ก็เห็นจะเป็นภาระรายจ่ายจาก "บัตรเครดิต" นี่แหละ เพราะต้องชำระทุกเดือน อย่างน้อยก็ต้องจ่ายในอัตราขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด  การจะลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หลายคนเลือกที่จะรีไฟแนนซ์ หรือจะเรียกง่ายๆก็คือ กู้เงินมาเพื่อปิดบัตรเครดิต โดยธนาคารที่เราขอกู้จะทำการปิดยอดบัตรเครดิตให้เราทุกใบ แล้วเราค่อยไปผ่อนจ่ายรายเดือนกับธนาคารแค่ก้อนเดียว

        ยกตัวอย่างเช่น เราหนี้บัตรเครดิต ทั้งหมด 3  ใบ รวมวงเงินที่ต้องจ่าย 150,000 บาท แต่ก่อนเราต้องจ่ายขั้นต่ำ 20,000 บาท   ซึ่งหากเรารีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ธนาคารจะปิดหนี้ทุกบัตรให้ แล้วแบ่งให้เราผ่อนชำระกับธนาคาร เดือนละประมาณ 7,000 บาท ทำให้เราสามารถปิดหนี้บัตรเครดิตได้จริง และมีเงินเหลือต่อเดือนมากขึ้น

การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตทำอย่างไร? 

1. ประมาณการหนี้บัตรเครดิตที่มีทั้งหมด  การประมาณภาระยอดชำระหรือวงเงินบัตรเครดิตที่มีทั้งหมดนี้ ก็เพื่อนำไปขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคาร

2. ตั้งวงเงินสินเชื่อ โดยควรตั้งวงเงินเผื่อไว้ให้มากกว่าสินเชื่อที่มีอยู่  เนื่องจากบางครั้งธนาคารอาจพิจารณาให้สินเชื่อไม่เต็มจำนวนที่ขอ แต่หากวงเงินขอสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้ต่ำกว่าหนี้สินทั้งหมด  ให้เลือกนำเงินขอสินเชื่อที่ได้ไปชำระหนี้หรือปิดบัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยที่แพงที่สุดก่อน เพื่อป้องกันดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มพูนในอนาคต

3. หาธนาคารที่จะช่วยเรารีไฟแนนซ์บัตรเครดิต  ให้พิจารณาโปรโมชัน ระยะเวลาการผ่อนชำระ และเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการผ่อนชำระของตนเอง ซึ่งระยะเวลาในการผ่อนมีตั้งแต่ 18 – 72 เดือน ซึ่งจะช่วยให้สามารถยืดหยุ่นการผ่อนชำระได้ตามกำลังของเรา 

แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!
cr:pixabay

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเป็นอย่างไร?

        ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่จัดผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทนี้ไว้เพื่อให้เราขอความช่วยเหลือ เพราะแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายธนาคารได้ขยายมาตรการชะลอสินเชื่อส่วนบุคคลให้กับลูกค้า แต่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการดังกล่าว บรรดาลูกค้าราคาเงินผ่อนก็ยังประสบปัญหานี้อยู่ และมีแนวโน้มว่า ปริมาณการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์จะเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ละธนาคารก็จะมีโปรโมชันและระยะเวลาการผ่อนชำระ รวมถึงดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป เช่น ให้วงเงินกู้สูงสุด 3 – 5 เท่าของรายได้ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำประกัน การลดดอกเบี้ยพิเศษ หรือฟรีค่าธรรมเนียม เป็นต้น

        ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับธนาคารว่าจะมีการจัดโปรฯผ่อนชำระนานแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยจึงจะคุ้มค่า 

  • ธนาคารไทยพาณิชย์

สินเชื่อบุคคล Speedy Loan 

- อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 9.99%

-วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท

-ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 72 เดือน

-ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและจัดการเงินกู้

-ไม่ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน  

 สมัคร สินเชื่อปิดบัตรเครดิต SCB คลิก 

  • ธนาคารออมสิน

สินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์ 

-วงเงินสูงสุดมากกว่า 300,000 บาท

-ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดนานถึง 7 ปี

-อัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ 8.50 บาท/ปี

-ไม่ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน  แต่ต้องมีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน 18,000 บาท ขึ้นไปสำหรับข้าราชการ และ 30,000 บาท ขึ้นไปสำหรับพนักงานออฟฟิศ

 สมัคร สินเชื่อปิดบัครเครดิต ธนาคารออมสิน คลิก 

  • ธนาคารกรุงศรี 

สินเชื่อส่วนบุคคล กรุงศรี (Krungsri)

- มีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน 20,000 บาท ขึ้นไป

-วงเงินอนุมัติสูงสุด 2,000,000 บาท

-อัตราดอกเบี้ยประมาณ 19.99 – 28% ต่อปี

-ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สูงสุด 5 ปี 

สมัคร สินเชื่อปิดบัตรเครดิต กรุงศรี คลิก 

  • ธนาคารอิสลาม 

สินเชื่ออเนกประสงค์ 

- ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันแบบที่พักอาศัยเท่านั้น 

-วงเงินอนุมัติสินเชื่อสูงถึง 5,000,000 บาท

-ระยะเวลาในการผ่อนชำระสูงสุดถึง 15 ปี

-อัตรากำไรผ่อนชำระหลังหักส่วนลด (ใช้แทนอัตราดอกเบี้ย) อยู่ที่ SPRL – 1.75%  

 สมัครสินเชื่อปิดบัตรเครดิต ธนาคารอิสลาม คลิก

  • ธนาคารทหารไทย

สินเชื่อทีเอ็มบี แคชทูโก (TMB Cash2Go)

-วงเงินให้กู้สูงสุดถึง 1,500,000 บาท

-ผ่อนชำระได้สูงสุด 5 ปี

-อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 – 28/ปี

-ต้องมีรายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ  15,000 บาท  โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน

 สมัครสินเชื่อปิดบัตรเครดิต TMB  คลิก

  •  ธนาคาร CIMB 

สินเชื่อบุคคล Personal Cash

-วงเงินกู้มากกว่า 1,500,000 บาท

-ระยะเวลาในการผ่อนชำระได้สูงสุด 5 ปี 

-อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 9 – 28/ปี

-จะต้องมีรายได้เดือนละ 20,000 บาทขึ้น

 สมัครสินเชื่อปิดบัตรเครดิต CIMB คลิก

  •  ธนาคารกรุงไทย 

สินเชื่ออเนกประสงค์ 5 Plus

-มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 13.87%/ปี

-วงเงินกู้สูงสุด 1,000,000 บาท

-ต้องมีรายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาท ขึ้นไป 

 สมัครสินเชื่อปิดบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย   คลิก

  • ธนาคาร UOB 

สินเชื่อปิดบัตรเครดิต UOB

-วงเงินกู้สูงสุด 1,500,000 บาท

-อัตราดอกเบี้ย 19.99% – 27.99%/ปี

-ระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 5 ปี

-ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนเพียง 15,000 บาท

-ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน

  สมัครสินเชื่อปิดบัตรเครดิตธนาคาร UOB คลิก

รีไฟแนนซ์บัตรเครดิตอย่างไรไม่ให้เกิดหนี้ซ้ำซ้อนล่ะ?

        ก่อนอื่นคือ ต้องเริ่มจากการ "ยอมรับ" ว่า "เรามีหนี้"  เพื่อไม่ให้เรากลับไปทำพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบเดิม และศึกษาข้อมูลการจัดการหนี้ โปรโมชันต่างๆของธนาคาร  เริ่มต้นจากธนาคารเจ้าของหนี้บัตรเครดิตของเราก่อน หากวงเงินที่ให้ ไม่ได้ตามจำนวนที่เราต้องการ เช่น อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าเทอมลูกที่จำเป็นจะต้องใช้ในระยะเวลาใกล้ๆนี้ ก็ให้มองหาธนาคารอื่นแทน 

แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!
cr:pixabay

- โดยเริ่มจากการเลือกสถาบันการเงินที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า เพราะหากกู้เงินปิดบัตรเครดิตแต่ดอกเบี้ยไม่ได้ต่างกันมันไม่มีประโยชน์แถมยังเสียเวลา เสียเงินในการเดินเรื่องต่าง ๆ อีก ซึ่งต้องเลือกดีๆ หากไม่ต้องการกลับมารีไฟแนนซ์อีกรอบ

- คิดยอดรวมหนี้สินทั้งหมด เพื่อประเมินวงเงินที่ต้องใช้ปิดหนี้ ( ซึ่งก็จะเหมือนกับหัวข้อ การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตทำอย่างไร? ด้านบน) 

- ต้องคำนวณเงินที่อยากได้จากการอนุมัติเงินกู้ให้ดี แนะนำให้ขอแพงกว่าหนี้สินทั้งหมดนิดหน่อยเผื่อสถาบันการเงินจะลดวงเงินเราเงินจะได้ยังพอดีกับการจ่ายหนี้สิน

- ที่สำคัญ!! ต้องวางแผนการใช้หนี้ล่วงหน้า โดยต้องคิดเผื่อว่าเมื่อได้เงินมาแล้วใช้หนี้ทั้งหมดจะเหลือเงินบ้างหรือไม่  หากเหลือควรเอาไปทำอะไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- ต้องศึกษาเงื่อนไขให้ดี เพราะหากเซ็นตกลงในสัญญาเงินกู้แล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ที่เน้นย้ำคือ ต้องรอบคอบที่สุดนั่นเอง 

เทคนิคในการวางแผนทางการเงิน สู้หนี้ที่มีอยู่ให้ได้!!

  • การจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นประจำ เพื่อให้เราเห็นพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองได้ดีขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นการมีวินัยทางการเงิน ทำให้รู้ว่ารายได้น้อยไปหรือค่าใช้จ่ายมากไปหรือไม่ ควรตั้งเป้าหมายให้มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
  • แยกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น  ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนต้องการใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความปรารถนาของตัวเอง แต่หลักการ คือ ควรใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างพอดีและมีสติ เพราะเมื่อสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง จะทำให้มีเงินออมมากขึ้น
  • วางแผนสร้างเงินออม  เมื่อสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว  ก็ควรสร้างเงินออมให้เพิ่มพูน และแบ่งเงินออมเอาไว้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินด้วย  หากมีเงินออมคงเหลือควรนำเงินออมไปลงทุนต่อยอดให้เกิดผลตอบแทนงอกเงยขึ้นไปอีก

แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!
cr:pixabay

            หัวใจสำคัญของการจัดการหนี้ ก็คือ การสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อที่จะเป็นทางออกให้เราสามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม และเมื่อ "รีไฟแนนซ์" แล้วต้องตระหนักอยู่เสมอว่า "เราไม่ควรสร้างหนี้เพิ่ม" 

  


        

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง