TNN online เที่ยวบินที่ 46 ของ Ingenuity บินบนดาวอังคารกว่า 10,000 เมตร

TNN ONLINE

Tech

เที่ยวบินที่ 46 ของ Ingenuity บินบนดาวอังคารกว่า 10,000 เมตร

เที่ยวบินที่ 46 ของ Ingenuity บินบนดาวอังคารกว่า 10,000 เมตร

นาซา (NASA) ประกาศเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) ขึ้นบินในเที่ยวบินที่ 46 สำเร็จแล้ว ซึ่งบินรวมเป็นระยะทางกว่า 10,000 เมตร

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา นาซา (NASA) ได้ออกมาประกาศว่าเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กสำหรับบินสำรวจดาวอังคารได้ขึ้นบินในเที่ยวบินที่ 46 สำเร็จแล้ว 

เที่ยวบินที่ 26 ของเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) 

ในเที่ยวบินที่ 46 นี้ เฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตีมีจุดมุ่งหมายไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดาวอังคาร เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของเฮลิคอปเตอร์จากสนามการบินอีธา (Airfield Eta) ไปยังสนามการบินทีตา (Airfield Theta) พร้อมสำรวจสนามการบินในอนาคต

เที่ยวบินที่ 46 ของ Ingenuity บินบนดาวอังคารกว่า 10,000 เมตร

โดยเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตีบินรวมเป็นระยะทางบินประมาณ 10,104 เมตร ด้วยระยะเวลาทั้งหมด 79.4 นาที ทำระดับความสูงที่สุดไว้ที่ 14 เมตร และทำความเร็วภาคพื้นดินสูงที่สุดไว้ที่ 6 เมตรต่อวินาที 

เที่ยวบินที่ 46 ของ Ingenuity บินบนดาวอังคารกว่า 10,000 เมตร

สำหรับเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตีมีมวลอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม และมีน้ำหนักบนดาวอังคาร 0.6 กิโลกรัม ถูกออกแบบมาให้บินในชั้นบรรยากาศที่เบาบางน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งอาศัยพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดอยู่ด้านบนสุดของเฮลิคอปเตอร์ในการชาร์จแบตเตอรีลิเทียมไอออน 


โดยเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตีถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากแหลมคะแนเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2020 และลงจอดบนดาวอังคารบริเวณปล่องภูเขาไฟเจซีโร (Jezero Crater) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 ต่อมาในวันที่ 19 เมษายน 2021 จึงดำเนินการบินในเที่ยวบินแรก


ชะตากรรมของเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) บนดาวอังคาร 

อย่างไรก็ตาม เฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตีอาจประสบปัญหาไม่ต่างจากรถโรเวอร์เพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance), รถโรเวอร์จู้หรง (Zhurong) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ถูกส่งไปยังดาวอังคาร นั่นก็คือถูกฝุ่นบนดาวอังคารปกคลุมแผงโซลาร์เซลล์จนทำให้ในที่สุดแผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ใช้งานได้อีกต่อไป


ข้อมูลและภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง