TNN online เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง โปรตีนทางเลือกใหม่แบบไม่ต้องฆ่าสัตว์

TNN ONLINE

Tech

เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง โปรตีนทางเลือกใหม่แบบไม่ต้องฆ่าสัตว์

เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง โปรตีนทางเลือกใหม่แบบไม่ต้องฆ่าสัตว์

การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตวในห้องทดลองให้กลายเป็นเนื้อสัตว์สำหรับบริโภคอาจปฏิวัติวงการอาหารไปทั่วโลก ตั้งแต่เกษตรกรที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ไปจนถึงผู้บริโภคที่ไม่ต้องการทานเนื้อสัตว์จากการฆ่า

ปัจจุบันเราสามารถเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องทดลองได้แล้ว โดยนวัตกรรมนี้กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันถูกมองว่าเป็น “อาหารแห่งอนาคต (Future Food)” ที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์ เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์สำหรับรับประทาน และอาจจะช่วยลดการทำฟาร์มสัตว์ใหญ่ที่เป็นปัจจัยหนึ่งของภาวะโลกร้อน


เนื้อเบอร์เกอร์จากห้องทดลองชิ้นแรกของโลก 

ในปี 2013 ศาสตราจารย์มาร์ค โพสต์ (Mark Post) แห่งมหาวิทยาลัยมาสทริชต์ (Maastricht University) ได้ทำการนำเซลล์จากสัตว์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายมาใส่ในภาชนะที่อุ่นและได้รับการสเตอไรด์ (Sterile) หรือทำให้ปลอดเชื้อด้วยสารละลายที่เรียกว่าสื่อการเจริญเติบโต โดยเป็นสารที่มีสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นรวมทั้งเกลือ, โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ทำให้ในทุก ๆ 24 ชั่วโมง เซลล์จะเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่า

เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง โปรตีนทางเลือกใหม่แบบไม่ต้องฆ่าสัตว์

อย่างไรก็ตาม การทำฟาร์มเนื้อสัตว์ในห้องทดลองให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนเนื้อสัตว์จากฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไป เนื่องจากนักวิจัยจะต้องแยกจานเพาะเลี้ยงระหว่างเซลล์เนื้อ, เซลล์กระดูก, เซลล์หนัง และเซลล์ไขมันแยกกัน เพราะเซลล์แต่ละชนิดต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป


โดยเนื้อที่ได้จากห้องทดลองไม่ได้มีรสชาติที่แตกต่างจากเนื้อสัตว์ทั่วไปและมีสารอาหารที่คล้ายกัน ซึ่งนักวิจัยสามารถปรับปรุงให้มันมีโปรตีนมากขึ้นหรือไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลน้อยลงได้ อีกทั้งเนื้อสัตว์ที่ได้จากห้องทดลองยังมีความสะอาดมากกว่า เนื่องจากผลิตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมีปนเปื้อน

เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง โปรตีนทางเลือกใหม่แบบไม่ต้องฆ่าสัตว์

กู๊ด มีท (GOOD Meat) บริษัทที่วางขายเนื้อสัตว์จากห้องทดลอง 

ในปัจจุบันมีบริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์จากเนื้อในห้องทดลองวางขายแล้ว นั่นก็คือบริษัท กู๊ด มีท (GOOD Meat) ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งวางขายไก่ชุบเกล็ดขนมปังกับไก่หยองตั้งแต่ปี 2020 และกำลังขออนุมัติต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการอนุมัติกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา


ข้อมูลจาก Science Focus

ภาพจาก Pixabay และ Reuters

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง