TNN online กลุ่มศิลปินยื่นฟ้องผู้พัฒนา Midjourney และ Stable Diffusion ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์

TNN ONLINE

Tech

กลุ่มศิลปินยื่นฟ้องผู้พัฒนา Midjourney และ Stable Diffusion ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์

กลุ่มศิลปินยื่นฟ้องผู้พัฒนา Midjourney และ Stable Diffusion ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์

กลุ่มศิลปินรวมตัวกันยื่นฟ้องผู้พัฒนาระบบ AI มิดเจอร์นีย์ (Midjourney) และ สเตเบิล ดิฟฟิวชัน (Stable Diffusion) ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์

ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะมาทำงานแทนที่มนุษย์ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันยังมีการตั้งคำถามถึงกระบวนการการทำงานของ AI ว่ามีความชอบธรรมเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของมิดเจอร์นีย์ (Midjourney) และ สเตเบิล ดิฟฟิวชัน (Stable Diffusion) ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถดึงภาพจากฐานข้อมูลที่มี มาดัดแปลงเป็นภาพศิลปะประยุกต์ ทำให้ศิลปินจำนวน 3 คน ที่เคยอัปโหลดผลงานลงในเว็บไซต์ เดเวียนอาร์ต (DeviantArt) ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมและจัดแสดงผลงานของศิลปินดิจิทัลอาร์ตจำนวนมาก ยื่นฟ้องผู้พัฒนาของ AI ทั้งสองเจ้า และเว็บไซต์เดเวียนอาร์ต ในข้อหาละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ 


ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความนิยมในการใช้เว็บไซต์มิดเจอร์นีย์ พุ่งขึ้นสูงมากจากความสามารถในการรังสรรค์ภาพศิลปะประยุกต์ด้วยคีย์เวิร์ดที่ต้องการได้ในเวลาไม่กี่วินาที แต่ความนิยมก็มาพร้อมกับคำครหาในเว็บไซต์ดังกล่าว พร้อมกับการถกเถียงอย่างหนัก เมื่อ เจสัน เอ็ม อัลเลน (Jason M. Allen) ศิลปินดิจิทัลอาร์ตชาวอเมริกา ใช้โปรแกรมมิดเจอร์นีย์สร้างสรรค์รูปภาพเพื่อเอามาใช้ในงานประกวดแข่งขันศิลปะที่รัฐโคโลราโด เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา 

 

โดยโปรแกรมมิดเจอร์นีย์ และสเตเบิล ดิฟฟิวชัน (Midjourney) และ (Stable Diffusion) ได้รับการประมวลผลโดยฐานข้อมูลภาพหลายพันล้านภาพ โดยเฉพาะในกรณีของสเตเบิล ดิฟฟิวชัน จะใช้ชุดข้อมูลจากโครงการ LAION-5B ซึ่งเป็นคอลเล็กชันภาพ 5 พันล้านภาพ จากศิลปินต่าง ๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็คือการนำเอาภาพงานศิลปะจากฐานข้อมูลของเว็บไซต์เดเวียนอาร์ต เพื่อนำมาสร้างเป็นรูปภาพใหม่ แต่การสร้างภาพขึ้นมาใหม่ขึ้นมา มักจะไม่ได้รับความยินยอมจากศิลปินให้ระบบ AI เหล่านี้สามารถใช้รูปและศิลปะของพวกเขาเป็นต้นแบบ 


และในที่สุด ศิลปินจำนวน  3 คน ได้แก่ ซาราห์ แอนเดอร์เซน (Sarah Andersen), เคลลี แมคเคอร์แนน (Kelly McKernan) และคาร์ลา ออร์ทิซ (Karla Ortiz) ออกมาระบุว่า โปรแกรม AI เหล่านี้ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์หลายฉบับ ศิลปินทั้ง 3 คนยังได้เริ่มกระบวนการทางกฎหมาย ในความยินยอมของศิลปินต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ พวกเขายังต้องการค่าชดเชยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยสเตเบิล ดิฟฟิวชัน, เดเวียน

อาร์ต, และมิดเจอร์นีย์ และต้องการให้ศาลออกคำสั่งห้ามการละเมิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมในอนาคต 


กลุ่มศิลปินยื่นฟ้องผู้พัฒนา Midjourney และ Stable Diffusion ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่มาของรูปภาพ DeviantArt

 

ด้านแมทธิว บัตเทอร์ริค (Matthew Butterick) ทนายความและนักออกแบบตัวอักษร ผู้ร่วมดำเนินการฟ้องระบุว่า “คำสั่งฟ้องนี้ ระบุถึงการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง การละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการคัดลอกและปลอมแปลง การละเมิดกฎหมายดิจิทัล (Digital Millennium Copyright Act -DMCA) การละเมิดสิทธิ์ในการเผยแพร่ของที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการให้บริการของเดเวียนอาร์ต รวมถึงละเมิดกฎหมายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมของรัฐแคลิฟอร์เนีย"


บัตเทอร์ริค เป็นผู้ยื่นฟ้องคดีนี้ร่วมกับสำนักงานกฎหมายโจเซฟ ซาเวรี (Joseph Saveri) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการผูกขาดและดำเนินคดีแบบกลุ่ม บัตเทอร์ริคยังระบุว่า ยังมีผู้คนอีกจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะนักเขียน ศิลปิน โปรแกรมเมอร์ และนักออกแบบในประเภทอื่น ๆ ที่มีความกังวลถึงการที่ระบบ AI ต่าง ๆ ที่ได้นำเอารูปภาพต้นแบบที่มีลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม และไม่ให้เครดิต หรือค่าตอบแทนใด ๆ เลย เขาเสริมว่าการยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นกระบวนการที่จะทำให้ปัญญาประดิษฐ์มีความชอบธรรมมากขึ้นสำหรับทุกคน

 

ทั้งนี้ บัตเทอร์ริค และ สำนักงานทนายความซาเวรี กำลังดำเนินการฟ้องร้องไมโครซอฟต์ (Microsoft) บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก , กิตฮับ (GitHub) เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวบรวมโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโอเพนเอไอ (OpenAI) เว็บไซต์ปัญญาประดิษฐ์ ในคดีที่เป็นการยื่นฟ้องเว็บไซต์ปัญญาประดิษฐ์ด้านการเขียนโปรแกรม โคไพลอต (CoPilot) ของกิตฮับ ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2021 


ขณะที่เว็บไซต์ด้านเทคโนโลยี เดอะ เวิร์จ (The Verge) ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การจะระบุชี้ชัดได้ว่ากระทำเหล่านี้ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่ยังเป็นคำถามที่ยากที่จะตอบ ขณะที่ผู้สร้างโต้แย้งว่าปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ อยู่ภายใต้นโยบายการใช้งานอย่างเหมาะสม (Fair Usage Policy) ในสหรัฐอเมริกา และจะต้องให้ศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ชัดต่อไป


ที่มาของข้อมูล techspot

ที่มาของรูปภาพ Midjourney

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง