TNN online Muthayya Vanitha หญิงอินเดียผู้บุกเบิกการศึกษารูปแบบ STEM ในเด็กผู้หญิง

TNN ONLINE

Tech

Muthayya Vanitha หญิงอินเดียผู้บุกเบิกการศึกษารูปแบบ STEM ในเด็กผู้หญิง

Muthayya Vanitha หญิงอินเดียผู้บุกเบิกการศึกษารูปแบบ STEM ในเด็กผู้หญิง

Muthayya Vanitha ผู้อำนวยการโครงการของ Chandrayaan-2 หญิงอินเดียผู้บุกเบิกการศึกษารูปแบบ STEM ในเด็กผู้หญิง

แม้อินเดียจะเป็นประเทศที่รู้จักกันดีในด้านความเป็นเลิศด้านการศึกษาในสาขา STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) แต่พื้นที่เหล่านั้นมักถูกครอบงำโดยผู้ชายมาตลอด รายงานจาก Thehindu.com กล่าวว่า Dr. Namrata Gupta ได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมชายเป็นใหญ่ได้กีดกันผู้หญิงจากการทำงาน ผู้หญิงอินเดียพึ่งได้รับการสนับสนุนเมื่อไม่นานมานี้ มีเพียง 10 ถึง 15% ของคนที่ศึกษาในสาขาวิชา STEM ในอินเดียที่เป็นผู้หญิง


จากผลการศึกษาเรื่อง Understanding persistent gender gaps in STEM ของ Joseph R. Cimpian, Taek H. Kim และ Zachary T. McDermott มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

“ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มความมั่นใจและแรงบันดาลใจในอาชีพ อาจเพิ่มจำนวนผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จสูงในสาขา STEM” Joseph R. Cimpian หัวหน้านักวิจัยกล่าวในการแถลงข่าว


แน่นอนว่าผู้หญิงอินเดียที่ประสบความสำเร็จในการงานอาชีพด้าน STEM มากพอที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงอายุน้อยกว่ายังมีจำนวนที่น้อยมาก หนึ่งในนั้นคือ Muthayya Vanitha ผู้อำนวยการโครงการของ Chandrayaan-2 เธอได้รับสมญานามว่า "Rocket Women" จากการเป็นผู้อำนวยการโครงการ Chandrayaan-2 ภารกิจส่งยานขับเคลื่อนไร้คนขับไปยังดวงจันทร์ อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Indian Space Research Organisation (ISRO) โดยเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลภารกิจในโครงการ ISRO ซึ่งเป็นภารกิจที่มีงบประมาณสูง


Muthayya Vanitha ได้ทำงานให้กับ ISRO มากว่า 33 ปีแล้ว โดยเธอทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียมและการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลมาตลอด และไม่เคยได้รับมอบหมายให้ดูแลภารกิจที่มีงบประมาณสูงมาก่อน ซึ่งการที่เธอได้เข้ามาเป็นผู้อำนวยการโครงการของ Chandrayaan-2 ชี้ให้เห็นว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงในสังคมชายเป็นใหญ่


นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงชาวอินเดียอีกจำนวนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในอาชีพสาขา STEM ยกตัวอย่างเช่น Kamakshi Sivaramakrishnan นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ผู้สร้างชิปสื่อสารที่ใช้กับยานอวกาศ New Horizons และประสบความสำเร็จกับบริษัทของตัวเองใน Silicon Valley และ Dr. Gagandeep Kang นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวอินเดียคนแรกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วม The Royal Society ในลอนดอน เป้าหมายในอนาคตของเธอคือการปิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันในระบบการดูแลสุขภาพของอินเดีย  ถือเป็นการบุกเบิกความมั่นใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิง


ข้อมูลจาก indiatoday.in

ภาพจาก forbesindia.com

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง