TNN online MIT สหรัฐอเมริกาพัฒนาจานบินลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

TNN ONLINE

Tech

MIT สหรัฐอเมริกาพัฒนาจานบินลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

MIT สหรัฐอเมริกาพัฒนาจานบินลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

จานบินลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้การปล่อยไอออนที่มีประจุบวกใส่พื้นผิวดวงจันทร์

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยงานวิจัยการพัฒนาจานบินลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ที่อาจถูกส่งไปสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต แนวคิดที่ดูเหมือนในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไซไฟแต่อยู่บนพื้นฐานของหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการลอยตัวโดยใช้แรงผลักจากไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Repulsion) ร่วมกับการออกแบบจานบินให้มีลักษณะโครงสร้างน้ำหนักเบาใช้พลังงานในการเคลื่อนที่น้อย


นักวิทยาศาสตร์ได้รับข้อมูลจากภารกิจสำรวจดวงจันทร์หลายภารกิจทำให้ทราบลักษณะของพื้นผิวดวงจันทร์ รวมไปถึงดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศป้องกันพื้นผิวทำให้ได้รับพลาสมาและรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ในปริมาณมหาศาลทำให้ลักษณะฝุ่นพื้นผิวดวงจันทร์มีประจุบวก นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งสมมุติฐานการพัฒนาจานบินหรือเครื่องร่อนที่มีลักษณะเป็นประจุบวกใช้งานบนพื้นผิวดวงจันทร์ โดยอาศัยหลักการดังกล่าวข้างต้นทำให้จานบินสามารถลอยตัวเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ได้เนื่องจากเมื่อประจุบวกหันหน้าชนกันจะเกิดการผลักออกจากกัน


คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของดวงจันทร์ คือ ดวงจันทร์มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกประมาณ 6 เท่า ตัวอย่างเช่น นักบินอวกาศกระโดดบนโลกสูงขึ้นไป 1 เมตร แต่หากกระโดดบนดวงจันทร์นักบินอวกาศจะสามารถกระโดดได้สูง 6 เมตร โดยการออกแรงเท่ากัน ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถพัฒนารูปแบบจานบินหรือรถหุ่นยนต์สำรวจสำหรับใช้งานบนดวงจันทร์


จานบินได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นยานสำรวจไร้คนขับโครงสร้างเป็นแผ่นทรงกลม ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าพร้อมกับอุปกรณ์ในการปล่อยไอออนที่มีประจุบวกใส่พื้นผิวดวงจันทร์ การควบคุมระดับความสูงจากพื้นผิวของดวงจันทร์ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ในการปล่อยไอออน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมโดยใช้การทดลองในห้องทดลองบนโลก ต้นแบบของจานบินมีน้ำหนักเพียง 907 กรัม หากงานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จในอนาคตการสำรวจดวงจันทร์อาจมียานสำรวจ จานบินหรือหุ่นยนต์สำรวจที่มีลักษณะแตกต่างออกไปโดยใช้การต่อยอดเทคโนโลยีจากการวิจัยชิ้นนี้


ข้อมูลจาก newatlas.com 

ภาพจาก news.mit.edu

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง