TNN online ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก "ประกันสังคม" ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่

TNN ONLINE

สังคม

ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก "ประกันสังคม" ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่

ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก ประกันสังคม ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่

กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็น เตรียมปรับฐานจ่ายเงินสมทบประกันสังคมใหม่ ผู้ประตนมาตรา 33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท?

กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็น เตรียมปรับฐานจ่ายเงินสมทบประกันสังคมใหม่ ผู้ประตนมาตรา 33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท?

กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับกำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุน"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ตั้งแต่ปี 2567-2573  โดยกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่ 1-28 กุมภาพันธ์นี้ 

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวง กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2566

ประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็น คือ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท

2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572  จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท

3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม

ส่วนประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม 

ตัวอย่างผลต่อผู้ประกันตน เช่น ในปี 67 ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงานเพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท) เป็นต้น

สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้น จากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ



ภาพจาก TNN ONLINE / ประกันสังคม



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง