ส่องศึกตลาดแอปฯเรียกรถในไทย 70,000 ล้าน
การใช้แอพพลิเคชั่นเรียกรถในประเทศไทยมีการแข่งขันและมูลค่าทางตลาดที่สูง และเป็นธุรกิจที่มองว่าจะทำกำไรได้ในอนาคต
ผลประกอบการแอปฯเรียกรถและเดลิเวอรี่ปี 2565
Grab รายได้ 15,197 ล้านบาท กำไร 576 ล้านบาท
LineMan รายได้ 7,803 ล้านบาท ขาดทุน 2,731 ล้านบาท
RobinHood รายได้ 538 ล้านบาท ขาดทุน 1,987 ล้านบาท
ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (แอปฯเรียกรถ)
GRAB (ประเทศไทย)
LINE MAN TAXI
ROBINHOOD โรบินฮู้ด
HELLO PHUKET SERVICE
Asia Cab (CABB)
BONKU
Robinhood Ride คือผู้เล่นรายล่าสุดที่ลงสนามขยายธุรกิจเพิ่ม จากบริการเดลิเวอรี่ เข้าสู่บริการแอปพลิเคชั่นเรียกรถนอกจากเจ้าอื่นๆ ที่มีให้บริการก่อนอยู่แล้ว เช่น Grab ประเทศไทย ที่เป็นผู้นำตลาดถึงร้อยละ 80 แล้ว
Robinhood Ride มีกลยุทธ์อย่างไรในการแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดครั้งนี้บ้าง
จุดขายของโรบินฮู้ดที่เอามาเป็นกลยุทธ์
- ราคาเป็นธรรม
- คนขับบริการดีมีมาตรฐาน
- เก็บค่าคอมมิชชั่นน้อยกว่า
- คนขับเริ่มงานง่ายไม่ต้องเติมเครดิตก่อนรับงาน
- ประกันเหตุร้าย (22:00-04:00 น.)
- Call Center 24 ชั่วโมง
ประเภทของรถที่ให้บริการ
- รถแท็กซี่
- รถยนต์ไฟฟ้า
- รถยนต์ไฟฟ้าพรีเมียม
- รถยนต์พรีเมียม
- รถทั่วไป คนขับผู้หญิง
- รถพรีเมียม คนขับผู้หญิง
- รถขนาดใหญ่สำหรับผู้มีสัมภาระ
ปัจจุบันโรบินฮู้ดมีฐานลูกค้าที่ใช้งาน (Active User) อยู่ในแอปฯ ประมาณ 3,700,000 บัญชี ซึ่งบริการ RobinHood Ride ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีจะมียอดธุรกรรมเฉลี่ยต่อวันที่ 112,000 ครั้ง และมีรถยนต์พร้อมให้บริการในระบบกว่า 10,000 คัน จากที่มีการลงทะเบียนไว้แล้ว 4,500 คัน ทั้งแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยร้อยละ 80 เป็นแท็กซี่ โดยตั้งเป้าจะเป็นแอปฯเรียกรถอยู่ใน Top 3 ภายใน 3 ปี
ที่มา : รายการการตลาดเงินล้าน