TNN เตือน! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง-น้ำท่วมระวังป่วย "โรคฉี่หนู"

TNN

InfoGraphic

เตือน! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง-น้ำท่วมระวังป่วย "โรคฉี่หนู"

เตือน! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง-น้ำท่วมระวังป่วย โรคฉี่หนู

โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นชื่อว่า เลปโตสไปร่า (Leptospira) ที่อยู่ในไตและกระเพาะปัสสาวะของสัตว์นำโรค เช่น หนู โค กระบือ สุกร สุนัข แพะ แกะ โดยมีหนูเป็นสัตว์แพร่โรคที่สาคัญ

โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นชื่อว่า เลปโตสไปร่า (Leptospira) ที่อยู่ในไตและกระเพาะปัสสาวะของสัตว์นำโรค เช่น หนู โค กระบือ สุกร สุนัข แพะ แกะ โดยมีหนูเป็นสัตว์แพร่โรคที่สาคัญ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้จะถูกขับออกมากับ ฉี่หนู และปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ทำให้เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก ผิวหนังที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ รวมถึงการหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไป นอกจากนี้ยังติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ


เตือน! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง-น้ำท่วมระวังป่วย โรคฉี่หนู


อาการของโรค

ผู้ป่วยมักมีอาการหลังจากได้รับเชื้อเข้าไป 1 - 2 สัปดาห์ โดยมีอาการที่สาคัญ คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณน่อง โคนขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง มีเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม หากมี อาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง จะทาให้การรักษาให้หาย ปกติได้ง่าย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งเชื้อเข้าไปสู่อวัยวะที่สาคัญ เช่น ปอด ตับ ไต อาจมีอาการตับวาย ไตวาย และทำให้เสียชีวิต 


ช่วงที่พบการระบาดของโรค

โดยทั่วไปสามารถพบการระบาดของโรคไข้ฉี่หนูภายในประเทศทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ระบบระบายน้ำ และการสุขาภิบาลไม่ดีมักจะพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง ปลายฤดูฝน หรือช่วงที่มีฝนตกชุกในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย โดยจะพบในช่วงน้ำเริ่มลดหลังการเกิดเหตุการณ์ น้ำท่วม



วิธีป้องกัน

เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคไข้ฉี่หนู ประชาชนควรป้องกันตนเองโดย ลดจำนวนสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และร่วมมือกันกำจัดหนูในชุมชน เพื่อลดโอกาสการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ด้วยวิธีการดังนี้

-ภายในชุมชนควรให้ความร่วมมือกันในการป้องกันการเกิดน้ำท่วมขัง ปรับสภาพแวดล้อม เช่น ทำแนวทางเดินให้สูงขึ้น ถางหญ้าบริเวณทางเดินไม่ให้เป็นที่อยู่ของหนู ไม่ทิ้งขยะบริเวณทาง ระบายน้ำ 

-รักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือนอย่าให้มีขยะและเศษอาหารตกค้างอันเป็นแหล่งอาศัยของหนู 

-ดื่มน้ำต้มสุกและกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ด้วยความร้อน รวมถึงเก็บอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิด อย่าให้หนูปัสสาวะใส่ 

-หมั่นล้างมือภายหลังจับต้องเนื้อ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด

-หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน ที่ชื้นแฉะ หรือมีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ไม่ใช้น้ำในแหล่งน้ำที่มีวัว กระบือ ลงไปแช่ ถ้าหากมีบาดแผลตามตัวต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าจาเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ ดังกล่าว ควรสวมรองเท้าบู๊ทป้องกัน 

-หลังเสร็จภารกิจที่ต้องสัมผัสน้ำหรือที่ชื้นแฉะแล้ว ควรรีบอาบน้ำชำระร่างกาย หรือล้างมือ ล้างเท้า ให้สะอาดทันที 


ทั้งนี้หากพบว่ามีอาการมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา มีประวัติสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ หรือลุยน้ำ 1-2 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์



ที่มา : กรมควบคุมโรค

ข่าวแนะนำ