TNN เผชิญ “เอลนีโญ” เสี่ยงภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจ รัฐ-เกษตรกร รับมืออย่างไร?

TNN

InfoGraphic

เผชิญ “เอลนีโญ” เสี่ยงภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจ รัฐ-เกษตรกร รับมืออย่างไร?

เผชิญ “เอลนีโญ” เสี่ยงภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจ รัฐ-เกษตรกร รับมืออย่างไร?

องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก ประเมินว่ามีโกาสร้อยละ 60 ที่จะเกิดปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในเดือนกันยายน ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นรวมถึงเกิดความแห้งแล้งบางส่วนของโลก

เผชิญ “เอลนีโญ” เสี่ยงภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจ รัฐ-เกษตรกร รับมืออย่างไร?

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน คาดว่าระหว่าง 20-22 พ.ค. 66 แต่ด้วยปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ลากยาวไปถึง ก.พ. 67 ทำให้ฝนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5 มีฝนทิ้งช่วง แต่ไม่ถึงขั้นแล้ง โดยแนะนำให้เกษตรกรวางแผนเพาะปลูกและกักเก็บน้ำให้เพียงพอ

ศูนย์วิจัยกสิกรแนะแนวทางรับมือเอลนีโญ

ภาครัฐ

- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง

- เครื่องมือ/เครื่องจักร

เกษตรกร

- ลดต้นทุนการผลิต

- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี

- ปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น มันสำปะหลัง อ้อย

เอลนีโญฉุดผลผลิตข้าว ปี 2566

จากการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าข้าวนาปรังปีนี้ผลผลิตจะอยู่ที่ 7.6 ล้านตัน (ข้าวเปลือก) สูงกว่าปีก่อน อยู่ที่ 23.4% ส่วนข้าวนาปีคาดว่าจะมีผลผลผลิตอยู่ที่ 25.1 - 25.6 ล้านตัน  (ข้าวเปลือก) ลดลงจากปีก่อน อยู่ที่ -5.9% ถึง -4.1% แต่เมื่อรวมทั้งข้าวนาปรังและนาปี คาดว่าผลผลิตจะอยู่ที่ -33.2 ล้านตัน (ข้าวเปลือก)  ลดลงจากปีก่อน อยู่ที่ -0.6% ถึง 0.9% อันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

เขื่อนใหญ่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

เขื่อนภูมิพล ความจุ 13,462 ปริมาณน้ำ 7,950 (59%) ปริมาณที่ใช้น้ำได้จริง 4,150 (31%)

เขื่อนสิริกิติ์ ความจุ 9,510 ปริมาณน้ำ 4,337 (46%) ปริมาณที่ใช้น้ำได้จริง 1,487 (16%)

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ความจุ 939 ปริมาณน้ำ 257 (27%) ปริมาณที่ใช้น้ำได้จริง 214 (23%)

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ความจุ 960 ปริมาณน้ำ 202 (21%) ปริมาณที่ใช้น้ำได้จริง 199 (21%)

* ปริมาณน้ำ (ลูกบาศก์เมตร)



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง