TNN online เตือนอากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

TNN ONLINE

Earth

เตือนอากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

เตือนอากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

สภาพอากาศ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย อากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุไต้ฝุ่น ฝนรั่ว ส่งผลรุนแรงจริงหรือ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

สภาพอากาศ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย อากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุไต้ฝุ่น ฝนรั่ว ส่งผลรุนแรงจริงหรือ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?


จากกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลเตือนภัยโดยระบุว่า อากาศแปรปรวนในรอบ 10 ปี ไทยเตรียมรับมือพายุไต้ฝุ่น ฝนรั่ว ส่งผลรุนแรง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา จากการติดตามพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 66 ในช่วงวันที่ 28 – 30 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง โดยภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส


สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. – 3 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 – 5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า


โดยในขณะที่ช่วงวันที่ 2 – 3 ก.พ. 66 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสน และตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th โทรสายด่วน 1182


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา จากการติดตามพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 66 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง โดยภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนอุณหภูมิลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง