TNN เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่า ปรับเปลี่ยนวิถีทางการเกษตร ยกระดับเศรษฐกิจสีเขียวตามโมเดล BCG อย่างยั่งยืน ในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

กว่า 5 ปี ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือซีพี ขับเคลื่อนโครงการศูนย์วิจัยบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ “Re4rest ปลูกเพื่อความยั่งยืน 4 ต้นน้ำภาคเหนือ ปิง วัง ยม น่าน” โดยชูกลยุทธ์ปลูกกาแฟฟื้นฟูป่า เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า สู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ได้สร้างความยั่งยืนในด้านมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยการลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ และปลูกพืชแบบผสมผสานที่ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถสร้างป่า สร้างรายได้ควบคู่กับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการฟื้นฟูป่า พร้อมนำองค์ความรู้และทักษะด้านบริหารจัดการตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ยกระดับการพัฒนาสู่ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  นายนนท์ นาคะเสถียร ผู้จัดการทั่วไป ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า โครงการศูนย์วิจัยบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นโครงการที่ผนึกความร่วมมือทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน ในเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชน พร้อมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟป่า และลดการขยายพื้นที่ในการทำเกษตร พร้อมทั้งเกษตรกรได้รับสิทธิทำกิน  ในปัจจุบัน เกษตรกรตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการคืนพื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าและเปลี่ยนมาปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาวแล้ว 1,175 ไร่ โดยในปีนี้ เครือซีพีตั้งเป้าพัฒนา “ศูนย์วิจัยกาแฟบ้านกองกาย สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์” เพื่อยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ พร้อมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต รวมถึงการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทางกลุ่มวิสาหกิจ  ยกระดับกาแฟให้มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานพร้อมขยายช่องทางการตลาดใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  คุณศตวรรษ อาภาประเสริฐ หรือ พี่ไชยรัตน์ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย เล่าว่า ตนเองเข้ามาร่วมในโครงการตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งถือเป็นเกษตรกรรุ่นแรก จนถึงปัจจุบัน โดยเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะปรับการทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นการปลูกกาแฟ เนื่องจากพืชเชิงเดี่ยวต้องใช้พื้นที่ในการปลูกจำนวนมาก และมีต้นทุนสูง ซึ่งทางซีพีก็เข้ามาช่วยส่งเสริมด้านองค์ความรู้ ด้านวิชาการในการปลูกกาแฟและไม้ผลอื่นๆ อาทิ แมคคาเดเมีย พลับ อะโวคาโด จนในปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจฯ มีการปลูกแล้วจำนวน 133 ไร่ มีผลผลิตแล้วกว่า 18,000 กิโลกรัม ซึ่งคาดว่าในรุ่นถัดไปจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้จากการที่เครือซีพีให้คำแนะนำ โดยปัจจุบัน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” มีสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนแล้ว 40 ครัวเรือน จนปัจจุบันสามารถมีผลผลิตเป็นสินค้าที่ไม่ได้แปรรูปและแปรรูปแล้ว สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ “กาแฟคั่ว อะราบิก้า 100% ตรา กาแฟบ้านกองกาย” ที่มีคุณภาพที่ดี  

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  “ตั้งแต่เครือซีพีและหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามาสนับสนุนการปลูกกาแฟ ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ มีหมอกควันไฟป่าลดลง เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถลดพื้นที่ในการทำเกษตร ทำให้มีป่าเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน และลดภาระแรงงานของเกษตรกรได้ นอกจากนี้การปลูกกาแฟยังสามารถลงทุนครั้งเดียว แต่เก็บผลได้ในระยะยาว และมีตลาดรองรับ เครือซีพียังสนับสนุนให้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน”

เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  ในปัจจุบัน ผลผลิตกาแฟฟื้นป่าบ้านกองกาย ได้ขยายผลต่อยอดสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) มีการจัดการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพส่งมอบสู่ตลาด เพื่อสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยเครือซีพีทำหน้าที่เป็นตลาดในการรับซื้อกาแฟเชอร์รี่สดส่งต่อมาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แจ่ม เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพภายในพื้นที่และจัดจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการต่อไป โดยล่าสุดได้มีการส่งเข้าประกวด Thailand Coffee Fest 2022 และโครงการประกวดสุดยอดกาแฟไทย 2565 ซึ่งก็ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกาแฟระดับพิเศษอีกด้วย ซึ่งในอนาคต เครือซีพีและกลุ่มวิสาหกิจบ้านกองกาย มีความตั้งใจจะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจสีเขียว ตามโมเดล BCG ให้ชุมชนโดยรอบที่มีความสนใจปลูกกาแฟสร้างป่า ให้สามารถเข้ามาเรียนรู้ และนำไปขยายผลต่อยอดต่อไปได้ เครือซีพี หนุน “วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย” ต้นแบบกาแฟสร้างป่าในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ข่าวแนะนำ