TNN online โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน

TNN ONLINE

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน

โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน

โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน หวังปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านที่แข็งแกร่งในเยาวชน

โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน


     “การอ่านออกเขียนได้ เป็นเพียงพื้นฐานที่สำคัญ แต่ในกระบวนการเรียนรู้จำเป็นที่จะต้องไต่ระดับไปถึงขั้น อ่านดีเขียนดี เมื่อสามารถทำทั้งสองขั้นได้แล้ว จะต้องพัฒนาไปสู่จุดสูงสุด คือการนำสิ่งที่อ่านเขียนมาเพิ่มพูนปัญญาและความรู้ ให้กับเด็กแต่ละคน เราจะเชื่อมโยงการอ่านเขียนอย่างไรให้เยาวชนมีทัศนคติที่กว้างขึ้น มีความเข้าใจในโลกมากขึ้น จนถึงทำให้ชีวิตของเขามีคุณค่ามากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของการอ่านออกเขียนได้”


     ส่วนหนึ่งของปาฐกถาพิเศษเรื่องการอ่าน โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาโครงการ ๑ อ่าน ล้านตื่น ที่ให้เกียรติร่วมงานวัน ๑ อ่าน ล้านตื่น เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ณ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ


     ทางด้าน คุณปรียาพันธ์ เสือดี ที่ปรึกษาโครงการ ๑ อ่านล้านตื่น กล่าวถึง ความสำคัญของการอ่านในยุคที่ดิจิทัล ที่คนสามารถเลือกรับสารได้หลากหลายวิธีการและหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น แต่การอ่านก็ยังถือเป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้ “ถึงแม้ว่าในยุคนี้คนจะสามารถรับข้อมูลได้หลากหลายวิธี ไม่ใช่เพียงแค่การอ่าน แต่ยังสามารถฟัง และดู เพื่อรับสาระความรู้ จากสื่อต่างๆ ในโลกออนไลน์ แต่การอ่านก็ยังถือเป็นการวางรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ ที่จะนำไปใช้ทุกช่วงวัยของชีวิต โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย การอ่านหนังสือเล่มช่วยในการสร้างจินตนาการ ถนอมสายตา และทำให้เกิดสมาธิ”


โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน


     รู้หรือไม่ว่าอุปสรรคของการอ่านของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะเยาวชน เกิดจากการขาดแคลนหนังสือ หนังสือไม่มีคุณภาพ ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความสนใจของผู้อ่าน การรับบริจาคหนังสือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ได้รับหนังสือมาโดยง่าย และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ แต่หนังสือที่ได้รับส่วนหนึ่งก็ไม่มีคุณภาพ ล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้รับ 

     อันเป็นที่มาของโครงการ ‘๑ อ่าน ล้านตื่น’ โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ที่ก่อตั้งมาด้วยความมุ่งมั่นที่จะรณรงค์ให้เกิดการซื้อหนังสือเพื่อการบริจาค เพื่อให้หนังสือที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้รับบริจาค โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ในการส่งรายชื่อหนังสือที่มีความหลากหลายให้ผู้รับบริจาคได้คัดเลือกหนังสือให้ตรงใจกับผู้รับ


โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน

     

     “การสร้างวัฒนธรรมการอ่านที่แข็งแกร่ง ทำให้เด็กรักการอ่านอย่างจริงๆ จังๆ ไม่ใช่แค่การอ่านชั่วครั้งชั่วคราว สามารถสร้างได้ด้วยการฝึกหัดตั้งแต่ปฐมวัย ยิ่งเล็กยิ่งดี เริ่มจากการอ่านนิทานก่อนนอนและทำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการให้ผู้อ่านได้มีโอกาสในการเลือกหนังสือที่ตัวเองชอบ โครงการ ๑ อ่าน ล้านตื่น โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จึงสนับสนุนกิจกรรมส่งมอบหนังสือตรงใจผู้รับ เปลี่ยนการบริจาคหนังสือที่ไม่ใช้แล้ว เป็นการมอบหนังสือตรงใจเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน” คุณปรียาพันธ์ กล่าวต่อ


     โครงการ ๑ อ่าน ล้านตื่น โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ภายใต้ความร่วมมือของ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัทไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)

 

     โดยมีกิจกรรมในโครงการ คือ 1) กิจกรรมมอบทุนหนังสือตรงใจ คือการคัดเลือกโรงเรียนขาดแคลนได้มีโอกาสได้เลือกหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2) กิจกรรม “บุคคลต้นแบบส่งเสริมการอ่าน” ที่ทำโครงการส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง 3) กิจกรรม “อ่านได้ เล่าสนุก ปลุกไอเดีย” โดยให้เยาวชนอายุ 6 - 12 ปี เข้าร่วมประกวดเล่าเรื่องจากความประทับใจจากหนังสือเล่มที่อ่าน และ 4) กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อหาทุนในการซื้อหนังสือเพื่อบริจาคให้กับพื้นที่ขาดแคลนหนังสือ และมอบของที่ระลึกให้กับผู้บริจาค 


โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน


     ภายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50ฯ ณ สถานีกลางบางซื่อ ได้มีพิธีมอบรางวัลกับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากกิจกรรมในโครงการ โดย ด.ญ.ขวัญตะวัน กีรติเสริมสิน หรือน้องแซลม่อน อายุ 7 ปี และด.ญ.สรุตา ทองเหลือดี หรือน้องมินนี่ อายุ 6 ปี คือผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรม “อ่านได้ เล่าสนุก ปลุกไอเดีย” โดยทั้งสองได้ส่งคลิปวีดิโอเล่าเรื่องความประทับใจจากหนังสือเล่มที่อ่าน และได้รับการชื่นชมจากกรรมการในความสามารถในการเล่าเรื่อง อย่างเป็นธรรมชาติ ฉะฉาน และเนื้อหาครบครัน ที่ทำให้กรรมการไม่สามารถตัดสินผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวได้


โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน


     ด.ญ.ขวัญตะวัน กีรติเสริมสิน หรือน้องแซลม่อน อายุ 7 ขวบ จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา เล่าให้ฟังว่า “หนูเริ่มชอบอ่านหนังสือตั้งแต่ 4 ขวบ แต่ก่อนจะให้คุณพ่อคุณแม่เป็นคนเล่าให้ฟัง ตอนนี้หนูเริ่มอ่านหนังสือเองได้แล้ว ก็จะชอบขอให้คุณพ่อช่วยซื้อหนังสือมาให้อ่าน หนูชอบอ่านหนังสือทุกเล่มที่มีภาพสวยๆ แล้วก็หนังสือสนุกๆ พออ่านจบแล้วก็จะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง”


โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน


     ทางด้าน ด.ญ.สรุตา ทองเหลือดี หรือน้องมินนี่ อายุ 6 ปี จากโรงเรียนฉิมพลี เล่าว่า “หนูชอบอ่านหนังสือนิทาน เพราะมันสนุก แล้วก็ทำให้หนูเก่งขึ้นด้วยค่ะ ในเวลาว่างๆ ตอนพักเที่ยงหนูจะชอบชวนเพื่อนๆ มาอ่านนิทานกัน ถ้าอ่านจบแล้ว ก็จะสลับกันอ่านกับเพื่อนๆ” นอกจากหนังสือจะสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กแล้ว หนังสือเป็นสื่อสร้างความผูกพันในครอบครัว และคนรอบข้างอีกด้วย แต่สำหรับในบางพื้นที่ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงหนังสือที่มีคุณภาพ ก็ต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากผู้ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือ

โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น ปลุกกระแสรณรงค์การบริจาคหนังสือตรงใจผู้อ่าน  

     ภายในพิธีจึงได้มีการประกาศรางวัล ‘บุคคลต้นแบบส่งเสริมการอ่าน’ ให้กับผู้ที่ทำโครงการส่งเสริมการอ่านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกย่องและให้กำลังใจผู้ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังและเสียสละ อันได้แก่ นางสาวกุลิดา ทัศนพิทักษ์ จากโรงเรียนวัดคลองเจ้า (แช่มชื่นราฎร์บำรุง) จังหวัดนนทบุรี ,นายมานัส ตู้แก้ว จากโรงเรียนบ้านหนองเจ๊กสร้อย จังหวัดจันทบุรี และพระครูสมุห์เดือน ปุญฺญจาโร จากโรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์ จังหวัดอ่างทอง 

     

     หนึ่งในผู้ได้รับรางวัล ‘บุคคลต้นแบบส่งเสริมการอ่าน’ กล่าวว่า “เยาวชนไทยมีทั้งผู้ที่ชอบอ่านหนังสือ และผู้ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ผู้ที่ชอบคือผู้ที่ถูกปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ ครอบครัวมีการสนับสนุน จึงได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของการอ่าน แต่ผู้ที่ไม่ชอบอาจเป็นเพราะครอบครัวไม่มีแรงสนับสนุน ไม่มีปัจจัยหรือเงินเพียงพอที่จะไปซื้อหนังสือ และสื่อและเทคโนโลยีก็มีส่วนในการเบนความสนใจจากหนังสือได้ เราทุกคนจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้เยาวชนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเหล่านี้ได้มีโอกาสในการเข้าถึงหนังสือที่ดี และมีคุณภาพ ที่สำคัญคือเป็นหนังสือที่เค้าชอบ ผ่านโครงการต่างๆ ที่ร่วมมือกันอย่างเช่น โครงการ ๑ อ่านล้านตื่น นี้”

ข่าวแนะนำ