TNN 10 อันดับโรคผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการ "ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน" สูงสุด ปี 2564

TNN

สังคม

10 อันดับโรคผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการ "ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน" สูงสุด ปี 2564

10 อันดับโรคผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการ ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน สูงสุด ปี 2564

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิด 10 อันดับโรค ที่มีผู้มาใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการสูงสุด ในปี 2564 พบว่า ผู้ป่วยนอก "ความดันโลหิตสูง" อันดับหนึ่ง ขณะที่ ผู้ป่วยใน เข้ารักษา "โรคติดเชื้อโควิด-19" มากที่สุดอันดับหนึ่ง

วันนี้ (26 พ.ค.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 พบว่า 10 อันดับโรค ที่มีผู้มาใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการ “ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน” สูงสุด ในปี 2564 มีดังนี้

ผู้ป่วยนอก

161.71 ล้านครั้ง อัตราเฉลี่ย 3.437 ครั้งต่อคนต่อปี โรคหรือกลุ่มโรคที่เข้ารับบริการมากที่สุด 10 อันดับแรก

1.ความดันโลหิตสูง 25.47 ล้านครั้ง

2.เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน 13.84 ล้านครั้ง

3.ความผิดปกติของเมตะบอลิซึมของไลโปโปรตีนและภาวะไขมันในเลือดหรือไขมันในเลือดผิดปกติ 11.24 ล้านครั้ง

4.โรคไตวายเรื้อรัง 5.47 ล้านครั้ง

5.เยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลันหรือโรคหวัด 5.13 ล้านครั้ง

6.ความผิดปกติแบบอื่นของเนื้อเยื่ออ่อน ปวดกล้ามเนื้อ 4.16 ล้านครั้ง

7.โรคกระเพาะอาหาร 3.21 ล้านครั้ง

8.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก 2.73 ล้านครั้ง

9.โรคฟันผุ 2.72 ล้านครั้ง

10.เวียนศีรษะ วิงเวียน 2.20 ล้านครั้ง

10 อันดับโรคผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการ ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน สูงสุด ปี 2564 ภาพจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ป่วยใน 

5.75 ล้านครั้ง อัตราเฉลี่ย 0.122 ครั้งต่อคนต่อปี โรคหรือกลุ่มโรคที่เข้ารักษาโดยนอนในโรงพยาบาลระบบบัตรทอง สูงสุด 10 อันดับแรก

1.ภาวะต้องการมาตรการป้องกันโรคโดยการแยกกักตัวและรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 (Need for other prophylactic measures) 2.68 แสนครั้ง

2.ปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัส 2.28 แสนครั้ง

3.ทารกปกติที่คลอดในโรงพยาบาล (Liveborn infants according to place of birth) 2.25 แสนครั้ง

4.กระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบจากการติดเชื้อ 1.92 แสนครั้ง

5.โรคปอดบวม 1.45 แสนครั้ง

6.โรคไตวายเรื้อรัง 1.21 แสนครั้ง 

7.มารดาคลอดธรรมชาติ (ครรภ์เดี่ยว) 1.08 แสนครั้ง

8.ภาวะหัวใจล้มเหลว 1.08 แสนครั้ง 

9.โรคธาลัสซีเมีย 1.03 แสนครั้ง

10.ผ่าตัดต้อกระจกในผู้สูงอายุ 9.76 หมื่นครั้ง


ข้อมูลจาก รายงานผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวแนะนำ