TNN online ถอดคำพูดนายกฯ อภิปราย152 ชี้แจงทุกปัญหาเงินเฟ้อ สินค้าแพงขึ้น 1% ก็ไม่อยากให้เกิด

TNN ONLINE

สังคม

ถอดคำพูดนายกฯ อภิปราย152 ชี้แจงทุกปัญหาเงินเฟ้อ สินค้าแพงขึ้น 1% ก็ไม่อยากให้เกิด

ถอดคำพูดนายกฯ อภิปราย152 ชี้แจงทุกปัญหาเงินเฟ้อ สินค้าแพงขึ้น 1% ก็ไม่อยากให้เกิด

​นายกฯ ชี้แจงทุกปัญหา เงินเฟ้อ รัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างสมดุล ย้ำแม้ราคาสินค้าแพงขึ้นเพียง 1 เปอร์เซนต์ ก็ไม่อยากให้เกิด

วันนี้ (17 ก.พ. 65) เวลา 20.00 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 3 ครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงถึงข้อกล่าวหาจากฝ่ายค้าน ทั้งนี้ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้




ขอขอบคุณคำชี้แจง พร้อมรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปปรับปรุงแก้ไข ยืนยันว่ารัฐบาลได้ดำเนินการชัดเจนไปหลายเรื่อง ซึ่งขอให้ทำงานบนข้อมูล ข้อเท็จจริง โรคนี้ จะไม่ติดมาที่มนุษย์ การส่งหมูออกนอกประเทศ ปกปิดไม่ได้ การส่งออก ปลายทางก็ต้องตรวจสอบ ได้ตรวจค้นเรื่องการปกปิดเนื้อสุกร ให้มีการขึ้นทะเบียน ต้องช่วยกันให้สมาคมเลี้ยงสุกร เข้าสู่มาตรการการช่วยเหลือของรัฐ ต้องพัฒนาคุณภาพให้ป้องกันโรคระบาดได้ ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์เข้าไปดูแลรายเล็ก 




เรี่องเงินเฟ้อ บางอย่างมีราคาสูงขึ้น ขอความร่วมมือไปที่ทุกภาคส่วน ต้นทุนเท่าไหร่ ควรขายเท่าไหร่ รัฐบาลทยอยแก้ไขมาตามลำดับ ตามมาตรการแก้ไข การที่สินค้าอยู่ที่เงินเฟ้อ อยู่ที่การแก้ไข เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากสถานการณ์โควิด ไทยมีมาตรการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาได้ดีกว่าหลายประเทศ รัฐบาลช่วยลดภาระสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนอยู่รอดให้ได้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ทำมาแล้ว ทำมาโดยตลอด และทำต่ออย่างเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ยังมีอยู่อีกซักพัก ซึ่งทุกประเทศให้ความสำคัญกับการทุเลาสถานการณ์ให้มากที่สุด ช่วยกันทำความเข้าใจ อธิบาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 




นายกรัฐมนตรียอมรับว่าสินค้ามีราคาแพงขึ้น แต่ราคาแพงขึ้นทั่วโลก เมื่อดูตัวเลขเงินเฟ้อเปรียบเทียบแต่ละประเทศ จะเห็นว่า เงินเฟ้อเกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในปี 2564 ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย รวมทั้งประเทศไทย จะเห็นว่าสหรัฐอเมริกาและอินเดียมีเงินเฟ้อค่อนข้างสูงมาก ดูในเอเชีย ปี 2564 ญี่ปุ่น เงินเฟ้อ 2.6%  มาเลเซีย เงินเฟ้อ 2.5%  เวียดนามเงินเฟ้อ 1.9%  แล้วดูของไทย เงินเฟ้อ 1.2% ครับ  ที่เอามาให้ดูนี่เพื่อที่จะยืนยันและเน้นย้ำว่ามันเกิดขึ้นทั้งโลกครับ ไม่ใช่เฉพาะไทย นายกรัฐมนตรีได้อธิบายถึงปัญหาและการดำเนินงานของรัฐบาล 




เงินเฟ้อครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก ทำให้สินค้าและบริการที่สูงขึ้นไปด้วย สาเหตุที่เกิดเงินเฟ้อทั่วโลกมาจากหลายปัจจัย สาเหตุหนึ่งมาจากปัจจัยทางสาธารณสุข อาทิ การปิดประเทศ การขนส่งหยุดชะงัก เมื่อสินค้าขาดตลาด สินค้าก็สูงขึ้น และจากการฉวยโอกาสของบุคคลบางส่วน วิกฤตโควิด นำไปสู่เงินเฟ้อมากขึ้นในปี 2564 การผลิตและความต้องการสินค้าและบริการของโลกเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปกติอย่างมาก และไม่สมดุล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ




สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อทั่วโลก มาจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1 ด้านสาธารณสุข  โควิดทำให้หลาย ๆ ประเทศ หลาย ๆ เมืองมีมาตรการปิดเมือง จำกัดการเดินทาง จำกัดการทำกิจกรรม จำกัดการออกจากบ้าน และมีการปิดใหญ่ ปิดย่อย ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ภาคการผลิตไม่สามารถผลิตได้อย่างที่เคย การขนส่งหยุดชะงัก ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ได้รับผลกระทบทั้งหมด และเมื่อสินค้าขาดตลาด ราคาก็จะสูงขึ้น ตามกลไกตลาด และการฉวยโอกาส ของคนบางส่วน เรื่องที่ชัดเจนที่สุดคือ ค่าขนส่งสินค้าและค่าระวางเรือเติบโตสูงขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากการถูกจำกัดการเดินทาง และการขนส่งสินค้าหยุดชะงัก




ราคาค่าขนส่งด้วยตู้ Container ขนาด 40 ฟุต มีราคาเพิ่มขึ้นจาก 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไปสูงสุดถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2564 เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าตัว ค่าขนส่งเป็นต้นทุนสินค้าที่สำคัญ (ทั้งการผลิตและการขนส่ง) เมื่อค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นด้วย การขนส่งคอนเทนเนอร์ใช้เวลามากกว่าเดิม 




2. กำลังซื้อที่สูงขึ้น ทำให้เกิดเงินเฟ้อ จากการที่รัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก มีนโยบายหรือมาตรการให้เงินเพื่อช่วยเหลือประชาชน และกลุ่มธุรกิจ ให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงการปิดเมือง ปิดประเทศ จึงส่งผลให้ กำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากรวดเร็ว นอกจากนี้ รัฐบาลทั่วโลก ได้กู้เงินมาใช้กระตุ้นและรักษาเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิด (มากกว่า 10% ของ GDP ต่อปี) ในภาพรวมถือเป็นการใช้เงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คนก็เริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งในเวลาที่ผลิตสินค้าได้น้อยลง ขนส่งได้ช้า แต่ในขณะเดียวกันกลับเกิดกำลังซื้อมหาศาล ถึงแม้จะชั่วคราวและไม่ได้เกิดในทุกสินค้า แต่ก็ทำให้ราคาสินค้าหลัก ๆ ทั่วโลก มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและแรงมาก




ทั้งนี้ น้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นต้นทุนหลักของการเดินทางและอุตสาหกรรมทั่วโลก มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างมากในปี 2564 ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 60% จากราคา 47.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์ เพิ่มขึ้นเป็น 77.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์




ซึ่งหากลองเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ที่อังกฤษประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงขึ้นเกือบ 30% ที่อเมริกาต้องจ่ายแพงขึ้นกว่า 46% ในขณะที่ประเทศไทยด้วยมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล คนไทยจ่ายค่าน้ำมันดีเซลแพงขึ้น 20% ซึ่งต่ำกว่าหลายประเทศ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทราบดีถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดภาระรายจ่ายของทุกคน จากวิกฤตราคาน้ำมันและพลังงานแพงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลกในขณะนี้




ราคาค่าไฟฟ้าครัวเรือน ในปี 2564 หลายประเทศในยุโรป เกิดวิกฤตค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ทำให้ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล คนอังกฤษต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในขณะที่คนไทยเสียค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในปี 2564 




ค่าโดยสารรถสาธารณะที่ประเทศอังกฤษ เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2563 – 2564 โดยภายใน 2 ปีค่ารถเมล์ของประเทศอังกฤษแพงขึ้นกว่า 30% ในขณะที่ประเทศไทย แม้ราคาพลังงานจะสูงขึ้น แต่รถเมล์ไม่มีการปรับขึ้นราคา ทั้งที่ ขสมก. เดินรถขาดทุนอยู่ตลอด เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลดภาระค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการเป็นลำดับแรก




สินค้าแพงขึ้นรวมถึงค่าอาหาร ราคาอาหารและการอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น เป็นเรื่องที่สำคัญที่ประชาชนคนไทยได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหานี้ แม้แต่ 1 เปอร์เซนต์ นายกรัฐมนตรีก็ไม่อยากให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในเรื่องของราคาอาหารแพงทั้งหมด ตัวเลขจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูงถึง 28% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย สถิติดัชนีผู้บริโภคของประเทศไทย ราคาสินค้าอาหารอุปโภคบริโภคของประเทศไทย(ไม่รวมแอลกอฮอล์) ราคาโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นเพียง 0.77% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากถ้าเทียบกับราคาอาหารทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นกว่า 28% 




ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะเราเป็นประเทศที่สามารถผลิตอาหารได้เอง ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องเผชิญกับค่าอาหารที่แพงขึ้นมากเท่ากับประเทศอื่น ๆ ในโลก ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้ใช้จังหวะนี้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ผัก มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 128,000 ล้านบาท ในปี 2563 เป็น 191,000 ล้านบาท ในปี 2564 เพิ่มขึ้นกว่า 63,000 ล้านบาทในปีเดียว  เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรอื่น ผลไม้ มันสำปะหลัง กุ้ง ปลา เป็นต้น สินค้าเหล่านี้เราผลิตได้ในประเทศ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในปี 2564 ทุกรายการ โดยรัฐบาลได้มีการเจรจากับหลายประเทศเพื่อเปิดตลาดใหม่ ๆ รองรับสินค้าจากประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย นายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ล้วนยินดีสนับสนุนไทยในประเด็นอาหารนี้ 




อย่างไรก็ตาม เราจะยังต้องเจอกับราคาสินค้าแพงอีกสักพัก และรัฐบาลก็ให้ความสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหา ทุเลาความเสียหาย และเริ่มเห็นผลดีมากขึ้นแล้ว โดยรัฐบาลได้มีการออกมาตรการแก้ไขปัญหาของแพงในหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ มิติ ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบไม่มาก ซึ่งตั้งแต่ปี 2564 รัฐบาลพยายามประคับประคองราคาน้ำมัน โดยใช้เงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันในช่วงปี 2564 ไปกว่า 33,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปรับอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงมีการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่กองทุนฯ เพื่อให้กองทุนฯ ยังคงความสามารถในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้เหมาะสมได้  ในส่วนน้ำมันดีเซลก็ได้ปรับให้ใช้บี 7 สูตรเดียวมาตั้งแต่ พ.ย. 2564 และตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ก็ปรับลดส่วนผสมไบโอดีเซล เป็น บี 5 ในช่วงที่ บี 100 ราคาสูง ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ของรัฐบาลถึงโครงสร้างน้ำมัน ว่าเหตุใด ส่วนผสมใดแพง




นอกจากนี้ รัฐบาลยังเดินหน้าขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเพื่อให้ลดค่าการตลาด ทั้งหมดนี้เพื่อรักษาราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลทุกประเภทไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งหากรัฐบาลไม่ทำอะไร ราคาน้ำมันดีเซลที่ขายในประเทศจะปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง แต่รัฐบาลคงราคาที่ 30 บาท มาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับพี่น้องประชาชนที่ใช้รถบรรทุก รถกระบะในการทำมาหากิน นายกรัฐมนตรีตอบโต้เรื่องที่มีการหยิบยกข้อความที่บิดเบือน ขอให้หยิบยกข้อความจากการตอบคำถามของนายกรัฐมนตรีให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ มาตรการของต่างประเทศด้วย เป็นแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล 




เรื่องราคาหมูกับเรื่องโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) รัฐบาลก็วางแผนรับมือมาตั้งแต่เมษายนปี 2562 โดยได้มีมติเห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรค และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้มีแนวทางป้องกัน แนวปฏิบัติเมื่อเกิดการระบาด และแผนการฟื้นฟูหลังระบาด และเน้นย้ำว่าได้มีการตรวจสอบห้องเย็น มีการพบผู้กระทำผิดกักตุนเนื้อหมู 17 ราย ส่งฟ้องและมีคำพิพากษาแล้ว 15 ราย อยู่ระหว่างดำเนินคดี 2 ราย ซึ่งได้เน้นย้ำให้ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยรวมไปถึงน้ำมันปาล์มที่พบว่าราคาสูงอยู่ในขณะนี้ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ประสานงานกับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ให้มีความเข้มงวดในเรื่องนี้




รัฐบาลยังมีมาตรการตรึงราคาสินค้าหลายชนิด โดยกระทรวงพาณิชย์ได้จัดชุดปฏิบัติการออกตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตรวจสอบการขายของ รวมถึงห้างค้าส่งค้าปลีก 204 แห่ง โดยพบการไม่ปิดป้ายแสดงราคา ขายเกินราคา ซึ่งได้ดำเนินการตามกฎหมายทั้งหมด โดยทุกวันนี้ราคาหมูก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากรัฐบาลไม่เตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้า ไม่สามารถดำเนินการได้ถึงขั้นนี้ได้ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้มาคิดแก้ปัญหารายวันตามที่กล่าว สำหรับรายละเอียดการปฏิบัติในแต่ละเรื่อง จะให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะได้มานำเรียนให้ทราบต่อไป




มาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีหลายเรื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง (ระยะที่ 1-4) เพื่อลดภาระค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป ให้พี่น้องประชาชนได้เงินไปดำรงชีพ ไม่ได้มีไว้ให้เจ้าสัวตามที่บิดเบือน รวมทั้ง มีโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการเราชนะ และ โครงการ ม. 33 เรารักกัน ซึ่งโครงการทั้งหมดมีการขึ้นบัญชี สามารถตรวจสอบการโกงได้ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลทำมาตลอด เพราะหากว่ารัฐบาลไม่ทำอะไร หรือบริหารจัดการได้ไม่ดี วิกฤติเงินเฟ้อ ของแพงทั่วโลก ปัญหาอาจจะหนักขึ้นมากกว่านี้ รัฐบาลได้ช่วยลดภาระไปได้มากถึงมากที่สุด 




นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงปัญหาของแพง ที่แม้แต่ 1-2% โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระท

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง