TNN เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

TNN

วิทยาศาสตร์

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

GISTDA เผยข้อมูลจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) รายงานถึงจุดเริ่มต้นพายุสนามแม่เหล็กโลกที่รุนแรงระดับสูงสุด


ดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างจากโลกระยะทางกว่า 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 AU แม้จะดูห่างไกล แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ส่งผลต่อสภาวะอวกาศ (Space weather) และกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ 


ตามที่ GISTDA เริ่มติดตามบริเวณที่มีการปะทุ AR 3664 ของดวงอาทิตย์ที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นต่อเนื่อง หลายสำนักข่าวนานาชาติ ตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า “monster sunspot region” ตามภาพที่1 บริเวณนี้มีการปะทุรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา บริเวณนี้ได้ปล่อยเปลวสุริยะ (solar flare) ระดับความรุนแรงสูงสุด (X class) ทั้งหมด 7 ครั้ง (ตามภาพที่ 2)


การปะทุทำให้เกิดการปลดปล่อยมวลโคโรนา ส่งผลให้เกิดลมสุริยะ (Solar wind) และพายุสนามแม่เหล็กโลกตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา โดยปกติ จากข้อมูลของ NOAA ลมสุริยะมีความเร็วประมาณ 300-500 km/s มีความเร็วสูงขึ้นสูงสุดไปที่ประมาณ 1,000 km/s และค่าสนามแม่เหล็กรวม (Bt) จากเดิมอยู่ในระดับต่ำกว่า 10 nT และเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 74 nt (ตามภาพที่ 3) จากข้อมูลล่าสุดจาก NOAA ค่าสนามแม่เหล็กมีแนวโน้มลดลง แต่ความเร็วของลมสุริยะยังอยู่ในระดับสูง แต่ข้อมูลจากแบบจำลอง (ตามภาพที่ 4) คาดการณ์ว่าความรุนแรงของลมสุริยะมีแนวโน้มลดลง


ผลกระทบสำหรับประเทศไทย:


ค่าสนามแม่เหล็กโลกบริเวณประเทศไทย จากการวิเคราะห์ข้อมูล local K index ตั้งแต่วันที่  9 -11 พฤษภาคม 2567  ช่วง 3 วันที่ผ่านมา ค่า local K-index ขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ระดับ 9 หรือ G5 โดยมีความรุนแรงขั้นสูงสุดของพายุสนามแม่เหล็กโลก (Extreme level) ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ในช่วงเวลา 11:00 - 16:00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบกับดาวเทียมที่โคจรในอวกาศ ระบบการสื่อสาร และระบบนำร่อง อาจจะถูกรบกวนหรือไม่สามารถสื่อสารได้ชั่วคราว (ดังภาพที่ 5) (อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว)


ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา หลายประเทศที่อยู่ละติจูดที่สูงสามารถมองเห็นแสงเหนือหรือออโรร่าด้วยตาเปล่าและมีสีสันหลากหลายมากกว่าปกติ เนื่องจากพายุสนามแม่เหล็กโลกที่เกิดขึ้นในระดับสูง (ดังภาพที่ 6)  


อย่างไรก็ตาม ทาง GISTDA ได้ติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และอัพเดทสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีข้อมูลสำคัญ จะแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยทันที


เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด


เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด

เกาะติดใกล้ชิด GISTDA เผยจุดเริ่มต้น “พายุสนามแม่เหล็กโลก” รุนแรงระดับสูงสุด




 


ข้อมูลและภาพจาก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง