TNN online มหิดลเตือนเข้าหน้าฝน “โควิดอยู่บนพื้นผิวนานขึ้น”

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

มหิดลเตือนเข้าหน้าฝน “โควิดอยู่บนพื้นผิวนานขึ้น”

มหิดลเตือนเข้าหน้าฝน “โควิดอยู่บนพื้นผิวนานขึ้น”

ม.มหิดลเตือนรับมือโควิดช่วงอากาศเปลี่ยนเข้าฤดูฝน “เชื้ออยู่บนพื้นผิวนานขึ้น” ไข้เลือดออก-หวัดใหญ่ จ่อซ้ำเติม ย้ำการ์ดอย่าตก

วันนี้ (30 .. 64) นายแพทย์สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้นำการศึกษาและวิจัยโรคเขตร้อนระดับภูมิภาคเอเชีย ได้แสดงความห่วงใยประชาชนที่ต้องรับมือกับปัญหาวิกฤติโควิด-19 ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูฝนว่า ถึงแม้ยังไม่มีรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ประชาชนก็ไม่ควร"การ์ดตกซึ่งความเปียกชื้นในช่วงฤดูฝนจะทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่บนพื้นผิวได้นานขึ้น จึงควรระวังมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการสัมผัสต่อเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการที่จะต้องไปอยู่ในที่แออัด และไม่ละเลยที่จะล้างมือ และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันอยู่เสมอเวลาที่ไม่ได้อยู่เพียงคนเดียว ทั้งในบ้าน และนอกบ้าน ตลอดจนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน

นายแพทย์สัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละบุคคลมีความจำเป็นและเหมาะสมต่อการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่แตกต่างกัน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน ซึ่ง "กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด โรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรังรวมถึงกลุ่มที่เป็นโรคอ้วนจะเป็นกลุ่มที่ถ้าติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป  แต่อาจฉีดได้ในรายที่สามารถควบคุมอาการได้ดี 

นายแพทย์สัณฑ์ ได้กล่าวถึงกรณีห้ามฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่าได้แก่ ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนรุนแรงมาก่อน ซึ่งจะมีอาการหลายระบบ ได้แก่ อาการทางระบบผิวหนัง เช่น ผื่น คัน ลมพิษ ร่วมกับอีกอย่างน้อย 1 อาการระบบ ได้แก่ อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการระบบทางเดินหายใจ เช่นเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรืออาการระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งหากมีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด

"สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate change) และฤดูฝนที่กำลังจะเข้ามา ยังมีโรคอื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ รวมถึงโรคที่เกิดจากอาหารการกิน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ และอื่นๆ อีกหลายโรค จึงอยากให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้ดี หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์อาจารย์ ดรนายแพทย์สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง