TNN online แพทย์ยกตัวอย่างบางประเทศออกกฎหมาย ใครแซงคิวรับวัคซีนโควิดจะได้รับโทษ

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

แพทย์ยกตัวอย่างบางประเทศออกกฎหมาย ใครแซงคิวรับวัคซีนโควิดจะได้รับโทษ

แพทย์ยกตัวอย่างบางประเทศออกกฎหมาย ใครแซงคิวรับวัคซีนโควิดจะได้รับโทษ

แพทย์ยกตัวอย่างบางประเทศได้ออกกฎหมายชัดเจนหากใครแซงคิวรับวัคซีนโควิด-19 จะได้รับโทษจำคุก-โดนปรับเงิน

วันนี้ (4มี.ค.64) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า สถานการณ์ทั่วโลก 4 มีนาคม 2564... เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 371,161 คน รวมแล้วตอนนี้ 115,612,385 คน ตายเพิ่มอีก 9,687 คน ยอดตายรวม 2,567,456 คน


อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 64,595 คน รวม 29,421,479 คน ตายเพิ่มอีก 2,394 คน ยอดตายรวม 531,050 คน 

อินเดีย ติดเพิ่ม 17,435 คน รวม 11,156,748 คน 

บราซิล ติดเพิ่ม 74,376 คน รวม 10,722,221 คน

รัสเซีย ติดเพิ่ม 10,535 คน รวม 4,278,750 คน 

สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 6,385 คน รวม 4,194,785 คน  

อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลายหมื่นต่อวัน


แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น 

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า

ในขณะที่แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักพัน

เกาหลีใต้ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนเมียนมาร์ จีน สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง ออสเตรเลีย เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่นิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ


...VIP ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เราเรียนรู้ได้มากมาย...


การได้อภิสิทธิ์นั้นดูจะฝังรากลึกในสังคมทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เวลาไปจับจ่ายใช้สอยสินค้าหรือบริการต่างๆ คนที่มียศ ตำแหน่ง รวย สวย หล่อ หรืออื่นๆ ก็มักจะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป

การปฏิบัติดังกล่าว หากเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็มักจะไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น เช่น หากในร้านค้าหรือสถานที่นั้นๆ ไม่ได้มีใครมาใช้บริการเลย มีแค่คนนั้นคนเดียว การได้รับการปฏิบัติแบบซูเปอร์ลักชัวรี่จากผู้ค้าขายหรือให้บริการ ก็คงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่สองฝ่ายมีต่อกันโดยความพึงพอใจ ฝ่ายนึงพอใจที่ได้รับการดูแลพิเศษ อีกฝ่ายนึงก็เต็มใจดูแลด้วยวัตถุประสงค์แฝงอยากทำให้พึงพอใจ ติดใจ มาใช้บริการอุดหนุนอีกครั้ง หรือหวังจะให้ไปเผยแพร่ให้เครือข่ายสังคมของเค้าได้ทราบและมาเป็นลูกค้า และจะทำให้กิจการเป็นที่รู้จัก


แต่...

หากเป็นสถานการณ์ที่ต่างกันไปจากที่กล่าวมาข้างต้น การซื้อขายสินค้าหรือบริการใดๆ ที่มีคนอื่นมาใช้บริการร่วมด้วย ไม่ใช่แค่คนเดียว หรือสินค้าหรือบริการนั้นๆ เป็นที่ต้องการมาก แต่มีปริมาณจำกัด ย่อมต้องมีมารยาทการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้

เกิดความสงบเรียบร้อย มีระเบียบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง และมีความเป็นธรรม รักษาสิทธิของกันและกัน ไม่ละเมิดสิทธิ


การต่อคิว หรือปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกติกาที่ตั้งไว้จึงสำคัญมาก


โดยคนที่จะช่วยกันทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อทุกคน ก็ย่อมมีอย่างน้อย 3 ฝ่ายหลัก คือ ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และหน่วยงานกำกับดูแลความเรียบร้อย จะเป็นรัฐหรือเอกชนก็แล้วแต่

ผู้ให้บริการ ควรมีจิตสำนึก รู้จักความพอดี ความเหมาะสม เมื่อมีกฎกติกาที่ประกาศไว้แล้ว ก็ไม่ควรเลือกปฏิบัติ พัฒนาระบบการให้บริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ผู้รับบริการแต่ละคน ควรเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกา ไม่ลัดเลาะเพื่อประโยชน์ส่วนตนซึ่งหน้า


และหน่วยงานกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐหรือเอกชนนั้น ก็ควรมีกลไกการตรวจสอบ กำกับการดำเนินงานของผู้ให้บริการ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ผู้ให้บริการต่างๆ นั้นได้ทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่ละเมิด หรือปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อผู้หนึ่งผู้ใด

บางสถานการณ์ หากไม่ได้ซีเรียสมาก ก็มักไม่ค่อยเห็นการละเมิดสิทธิกัน ปฏิบัติตามกติกาสังคม เช่น ไปต่อคิวรอซื้อปาท่องโก๋ตั้งแต่ตีสามกันอย่างเรียบร้อย แถมสร้างสรรค์บริการต่อยอดด้วยการรับต่อคิวซื้ออีกต่างหาก


แต่ในบางสถานการณ์ที่เกิดวิกฤติต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของคนในสังคม ต่างคนต่างอยากเอาตัวรอด หากไม่มีระบบและกลไกที่ดี ต่างฝ่ายต่างไม่ช่วยกันดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เราก็อาจเห็นการลัดคิว แซงคิว ใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการได้สิ่งที่ตนต้องการ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นๆ จะได้รับผลกระทบหรือไม่อย่างไร หากไม่ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก็จะลุกลามใหญ่โต ทำกันจนเป็นนิสัย สังคมก็จะโกลาหล ไม่เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่เชื่อมั่นในกฎหมาย ระเบียบ หรือกติกาใดๆ อีกต่อไป


สำหรับเรื่องโรคระบาดที่ทั่วโลกเผชิญอยู่นั้น มีข่าวว่าบางประเทศได้ออกกฎหมายมาชัดเจน และน่าสนใจมาก เช่น มาเลเซีย ระบุว่า หากใครแซงคิวรับวัคซีนโควิด-19 จะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 ริงกิต (374,000 บาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ 11 มีนาคมเป็นต้นไป


ศึกนี้อีกยาว หากดูข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัคซีนชนิดต่างๆ ที่มีใช้ทั่วโลก เราย่อมรู้ดีว่า แม้รับวัคซีนบางชนิดไปแล้ว ก็ยังติดเชื้อได้ ป่วยได้ ยังมีโอกาสตายได้ หรือแพร่เชื้อให้แก่สมาชิกในครอบครัวหรือคนอื่นในสังคมได้ 

การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากาก ล้างมือ อยู่ห่างๆ ลดละเลิกการตะลอนท่องเที่ยวพบปะสังสรรค์ ยังจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ด้วยรักและปรารถนาดี





ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง