TNN online กรมการแพทย์ เผย อาการ "ลองโควิด" ในไทยยังพบน้อย

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

กรมการแพทย์ เผย อาการ "ลองโควิด" ในไทยยังพบน้อย

กรมการแพทย์ เผย อาการ ลองโควิด ในไทยยังพบน้อย

กรมการแพทย์ เผย อาการลองโควิดจะพบหลังหายติดเชื้อโควิด 1-2 สัปดาห์ มีอาการนาน 1-2 เดือน โดยไทยพบผู้ป่วยอาการลองโควิดในสัดส่วนที่ยังน้อยอยู่

วันนี้( 16 มี.ค.65) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึง กลุ่มอาการลองโควิดว่า จะเกิดขึ้นหลังหายจากโควิด โดย 1-2 สัปดาห์ถึงจะเริ่มมีอาการ ส่วนใหญ่จะมีอาการนาน 1-2เดือนและบางรายอาการลองโควิดจะอยู่นาน 3-6 เดือน ซึ่งเกิดจากเศษซากเชื้อของไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อแล้วแต่อาจก่อให้เกิดการอักเสบบางระบบในร่างกายอยู่ เกิดขึ้นได้ 5 ระบบคือระบบทางเดินหายใจ เช่น มีอาการ เหนื่อย ไอเรื้อรัง ระบบประสาท ปวดหัวเครียด บางรายรู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ ระบบผิวหนัง เช่น ผมร่วง ระบบจิตเวช สภาพจิตใจ ที่วิตกกังวล นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ท้องเสียซึ่งในส่วนนี้เจอไม่เยอะ 

ส่วนใหญ่ ลองโควิดจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ปัจจัยเสี่ยงจะเจอในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือมีภาวะโรคอ้วน ส่วนใหญ่จะพบในคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการมากกว่าคนที่ติดเชื้อโควิด-19 อาการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลสอบถามอาการผู้ป่วยของกรมการแพทย์ พบมีร้อยละ40 ที่ลงระบบเกี่ยวกับอาการลองโควิด 

ขณะที่ข้อมูลจากทั่วโลกตอนนี้ มีรายงาน ผู้ป่วยกลุ่มอาการลองโควิด ประมาณร้อยละ 10 บางประเทศอยู่ที่ร้อยละ 40 

ส่วนตัวจากการ ติดตามเคสผู้ป่วยโควิด-18 ส่วนใหญ่มีอาการลองโควิดไม่มาก อยู่ที่ร้อยละ10 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 

ซึ่งลองโควิด กับ มิสซี คนละกลุ่มอาการกัน มิสซี จะเจอในเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ส่วนใหญ่เจอระหว่างติดเชื้อโควิด-19 อยู่ เกิดในช่วง1-2 สัปดาห์ เป็นอาการอักเสบของหลายระบบในร่างกาย ส่วน ลองโควิดจะเจอหลังจากหายโควิดไปแล้ว 

โดยอาการมิสซีในเด็กที่พบ คือไข้สูง 38 องศา เกิน 24 ชั่วโมง ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น หน้าแดง ตัวแดง ท้องเสีย บางรายอาจจะมีโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน

ทั้งนี้ กลุ่มอาการที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มเติมคือไข้เลือดออก ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาการคล้ายกัน แต่มิสซี คือต้องติดเชื้อโควิด-19 ก่อน หากไม่มีการติดเชื้อโควิค 19 แต่มีอาการป่วยที่เข้าข่ายก็ต้องไปดูโรคอื่นๆ 

ขณะที่ การให้บริการ UCEP Plus วันแรก โรงพยาบาลทุกสังกัดทั้งของกรมการแพทย์ กทม. พร้อมในการรองรับการให้บริการ ส่วนสถานการณ์เตียงขณะนี้เตียงในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ เข้าสู่สภาวะเตียงเริ่มเต็ม แต่ยังมีศักยภาพในการหมุนเตียงและรองรับผู้ป่วยได้อยู่ 

โดยโรงพยาบาลราชวิถี มีการใช้เตียงระดับ2-3ไปร้อยละ 90 หากผู้ป่วยที่อยู่ในระดับ 3 แล้วอาการดีขึ้นจะถูกส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสนามเลิดสิน 

นอกจากนี้กรมการแพทย์ได้ขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลสนามปิยะเวท ในการส่งต่อผู้ป่วยในสังกัดกรมการแพทย์ไปที่โรงพยาบาลสนามปิยะเวท ซึ่งรับดูแลผู้ป่วยโควิดเหลือง แดง



ข้อมูลจาก ผู้สื่อข่าว TNN ช่อง 16

ภาพจาก AFP


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง