TNN online (คลิป)หายโควิดยังเสี่ยง“เส้นเลือดอุดตัน” “ลองโควิด”อาจทำให้พิการได้

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป)หายโควิดยังเสี่ยง“เส้นเลือดอุดตัน” “ลองโควิด”อาจทำให้พิการได้

(คลิป)หายโควิดยังเสี่ยง“เส้นเลือดอุดตัน” “ลองโควิด”อาจทำให้พิการได้

งานวิจัยจากสวีเดนพบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันที่ปอดสูงกว่าผู้อื่นถึง 33 เท่า หลังจากติดเชื้อไปแล้วนาน 6 เดือนนอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดดำอุดตัน ซึ่ง มักเกิดขึ้นที่ขา มากกว่าผู้อื่น 5 เท่า หลังจากติดเชื้อโควิดไปแล้วนาน 3 เดือน ด้านแพทย์เผยข้อมูลใหม่ภาวะ"ลองโควิด"หลังจากหายป่วยจากโควิดมีความรุนแรงและเสี่ยงทำให้เกิดความพิการได้ ขณะที่ คาดว่าการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนจะทำให้มีผู้ป่วยลองโควิดมากขึ้น



ผลการศึกษาที่เผยแพร่บนวารสารการแพทย์ บริติช เมดิคัล เจอร์นัล (บีเอ็มเจ) ระบุว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเส้นเลือดอุดตันที่ร้ายแรง หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 6 เดือน แม้ขณะป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม // การศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้เปรียบเทียบข้อมูลของชาวสวีเดนมากกว่า 1 ล้านคน ที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 - พฤษภาคม 2564 // กับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในการควบคุมมากกว่า 4 ล้านคน ที่ไม่เคยมีผลติดเชื้อ// และหลังจากได้ปรับแก้ปัจจัยต่างๆ พบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด มีความเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดแดงอุดตันที่ปอดสูงกว่าผู้อื่น 33 เท่า หลังติดเชื้อไปแล้ว 6 เดือน // นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดดำอุดตัน ซึ่ง มักเกิดขึ้นที่ขา มากกว่าผู้อื่น 5 เท่า หลังจากติดเชื้อโควิดไปแล้วนาน 3 เดือน


ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด และมีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว มีความเสี่ยงมากกว่า และแม้แต่ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปเช่นเดียวกัน //นอกจากนี้ โอกาสที่จะเกิดเส้นเลือดอุดตัน พบในผู้ป่วยระลอกแรกมากกว่าระลอกหลัง //ซึ่ง นักวิจัยคาดว่าเป็นเพราะการฉีดวัคซีนและการรักษาที่ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป //ซึ่ง การค้นพบดังกล่าวมีนัยสำคัญทางนโยบาย และเรียกร้องให้มีการรักษามากกว่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้พัฒนากลายเป็นลิ่มเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ผลการศึกษายังเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนด้วย


ด้าน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศแผนระดับชาติ เพื่อรับมือกับวิกฤตสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับลองโควิด หรือ ผลกระทบระยะยาว หลังติดเชื้อโควิด-19 หลังพบว่าจำนวนผู้ที่มีอาการลองโควิดเพิ่มสูงขึ้น//และบางคนอาจมีอาการเรื้อรังนานหลายเดือน จนทำให้ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ //โดยปัจจุบันมีประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่มีอาการลองโควิดคิดเป็นร้อยละ 7 หรือประมาณ 14 ล้าน 6 แสนคน จากจำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งหมด //สร้างความเสียหายทั้งต่อการสูญเสียรายได้// เงินออม //และค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล คิดเป็นมูลค่าราว 386,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 12 ล้านล้านบาท


สำหรับอาการลองโควิด พบได้หลากหลายมากกว่า 200 อาการ //ส่วนใหญ่จะพบอาการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 เดือน ทั้งอาการปวดตัว //อ่อนเพลีย //สมองล้า //หายใจลำบาก //และเหนื่อยง่าย 


รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึงภาวะ"ลองโควิด" ระบุถึงกรณีสหรัฐฯ ซึ่ง หากเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ จะพบว่าอัตราการเกิดภาวะ "ลองโควิด" สูงราวร้อยละ 20 // ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสหราชอาณาจักร รายงานปัญหาลองโควิด ในประชากรราว 1 ล้าน 7 แสนคน หรือ พบในประชากรทั่วไปได้ 1 ใน 37 คน 


ทั้งนี้ มีประชากรถึง 780,000 คนทั่วโลก ที่ประสบภาวะลองโควิดมานานกว่า 1 ปี //และมีมากถึง 334,000 คน ที่เริ่มประสบปัญหานี้ จากการระบาดระลอกของสายพันธุ์โอมิครอน //และที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยที่เป็นลองโควิดมีทั้งชายและหญิง และมีทุกช่วงวัย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก //โดยขณะนี้มีเด็กที่มีลองโควิดนี้ สูงถึง 150,000 คน 


ดังนั้น บทเรียนของต่างประเทศเป็นเหมือนการเตือนให้ไทยตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการควบคุมป้องกันโรค //ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด //เพราะหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ จำนวนติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นและจะไม่จบแค่ติดเชื้อ ป่วย รักษา หาย หรือ เสียชีวิต //แต่จะเกิดผลกระทบระยะยาว "ลองโควิด" ที่บั่นทอนสมรรถนะในการดำเนินชีวิต การทำงาน และทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง หรือ ภาวะทุพลภาพ เป็นภาระค่าใช้จ่าย ทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง