TNN online (คลิป) จระเข้ยักษ์! กินไดโนเสาร์ นักวิทย์อึ้ง! ผลสแกนฟอสซิล 93 ล้านปี

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป) จระเข้ยักษ์! กินไดโนเสาร์ นักวิทย์อึ้ง! ผลสแกนฟอสซิล 93 ล้านปี

(คลิป) จระเข้ยักษ์! กินไดโนเสาร์ นักวิทย์อึ้ง! ผลสแกนฟอสซิล 93 ล้านปี

นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียเผยภาพสแกนหายาก จระเข้ยักษ์อายุ 93 ล้านปี พบซากลูกไดโนเสาร์ในท้อง เชื่อถูกฝังและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน หลังจากเกิดอุทกภัยหลายล้านปีที่ผ่านมา


นักวิทยาศาสตร์องค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งออสเตรเลีย ค้นพบว่าซากฟอสซิลจระเข้อายุ 93 ล้านปีในก้อนหินขนาดใหญ่ ณ เซ็นทรัลควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเก็บรักษาไว้ร้อยละ 35 ประกอบด้วยกะโหลกที่ใกล้จะสมบูรณ์และฟันที่น่ากลัว หลังตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์สแกนส่วนที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ของกระเพาะอาหารก็ต้องตกตะลึง เนื่องจากจระเข้ดังกล่าวได้กินลูกไดโนเสาร์ตัวหนึ่งก่อนที่มันจะตายได้ไม่นาน


ทั้งนี้ จระเข้ดังกล่าวถูกขนานนามว่า Confractosuchus sauroktonos ซึ่งแปลว่า ‘นักฆ่าไดโนเสาร์จระเข้ที่แตก” โดยวัดความยาวจระเข้ได้ประมาณ 2 – 2.5 เมตร ซึ่งทีมวิจัยและนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ยุคไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ได้ใช้การถ่ายภาพนิวเคลียร์และซินโครตรอนขั้นสูงเพื่อยืนยันว่า จระเข้ได้กินลูกไดโนเสาร์ที่อายุน้อยกว่าก่อนที่มันจะตายอย่างกะทันหัน หลังจากเกิดอุทกภัยโดยนักโบราณคดีเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จระเข้จะถูกฝัง และเสียชีวิต ส่วนคำว่า ‘แตก’ ของชื่อหมายถึง ความจริงที่ว่ามันถูกค้นพบในก้อนหินขนาดใหญ่ที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ


ดอกเตอร์โจเซฟ เบวิตต์ นักวิทยาศาสตร์เครื่องมืออาวุโส ผู้ร่วมวิจัย ระบุว่า “ซากฟอสซิลถูกพบในก้อนหินขนาดใหญ่ มวลสารมักเกิดขึ้นจากอินทรีย์วัตถุ โดยสันนิษฐานว่าจระเข้จมลงสู่ก้นแม่น้ำ เนื่องจากสภาพแวดล้อมอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ในการสแกนครั้งแรกในปี 2015 เห็นกระดูกฝังอยู่ในนั้น ซึ่งดูเหมือนกระดูกไก่ที่มีขอเกี่ยวและคิดทันทีว่าเป็นไดโนเสาร์อยู่ในลำไส้ แต่ยังไม่มีการระบุสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นออร์นิโทพอด ทั้งนี้ เพื่อยืนยันว่าไดโนเสาร์อยู่ในลำไส้ของจระเข้จริง ๆ ทีมงานได้สำรวจอุโมงค์หนอน รากพืช และลักษณะทางธรณีวิทยาที่ขยายระหว่างเศษหิน ดังนั้น เราจึงมีเคมีของหินเป็นหลักฐาน


 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง