ญี่ปุ่นเตรียมติดตั้ง “กล้องโทรทรรศน์วิทยุ” ส่องทางช้างเผือกปี 2026

ญี่ปุ่นเตรียมติดตั้ง “กล้องโทรทรรศน์วิทยุ” ส่องทางช้างเผือกปี 2026

ทีมวิจัยญี่ปุ่น ประกาศเตรียมติดตั้ง “กล้องโทรทรรศน์วิทยุ” (Radio Telescope) ตัวแรกของประเทศในแอนตาร์กติกา พร้อมเริ่มทดสอบส่องกาแล็กซีทางช้างเผือกในปี 2026

สรุปข่าว

ทีมวิจัยญี่ปุ่น ประกาศเตรียมติดตั้ง “กล้องโทรทรรศน์วิทยุ” (Radio Telescope) ตัวแรกของประเทศในแอนตาร์กติกา พร้อมเริ่มทดสอบส่องกาแล็กซีทางช้างเผือกในปี 2026

กล้องโทรทรรศน์วิทยุดังกล่าว เป็นกล้องขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร มีความสามารถในการจับคลื่นวิทยุในอวกาศเพื่อสังเกตบริเวณต่าง ๆ  ในจักรวาลที่มองไม่เห็นด้วยแสงที่มองเห็นได้

กล้องตัวนี้ จะถือเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุของญี่ปุ่นตัวแรก ที่จะถูกติดตั้งในบริเวณชายฝั่งแอนตาร์กติกา ห่างจากสถานี Showa ของญี่ปุ่นไปทางทิศใต้ประมาณ 1,000 กิโลเมตร

โดยทีมวิจัยที่ดูแลโครงการนี้ เป็นทีมที่มาจากมหาวิทยาลัยสึคุบะ (University of Tsukuba) รวมถึงนักวิจัยจากสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งชาติ (National Institute of Polar Research) และมหาวิทยาลัยฮอกไกโด (Hokkaido University)

ในปี 2024 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยของญี่ปุ่นได้ทำการติดตั้งขาตั้งกล้องโทรทรรศน์ และอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าไว้แล้ว โดยในปี 2025 นี้ จะมีการขนส่งตัวกล้องไปยังแอนตาร์กติกาโดยเรือตัดน้ำแข็ง Shirase

ตัวกล้องจะถูกติดตั้งไว้สูงจากระดับน้ำทะเล 3,800 เมตร พื้นที่โดยรอบมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำถึง -50 องศาเซลเซียส อากาศจึงแทบไม่มีไอน้ำที่จะมารบกวนคลื่นวิทยุจากอวกาศ รวมถึงโดยปกติแล้วบริเวณดังกล่าวจะมีแดดจัดและแจ่มใสเกือบตลอดเวลา ทำให้เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการสังเกตการณ์

อย่างไรก็ตาม การที่อุณหภูมิลบสูงถึง -20 ององศาเซลเซียสในฤดูร้อน ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของกล้องโทรทรรศน์อาจได้รับผลกระทบ ทำให้ทางทีมงานวางแผนที่จะหุ้มกล้องโทรทรรศน์ด้วยวัสดุฉนวนและติดตั้งเครื่องทำความร้อนไว้ภายใน

ในปี 2026 ทางทีมจะใช้ตัวกล้องสังเกตกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งเป็นที่ตั้งของโลก เพื่อกำหนดการกระจายตัวของก๊าซ เนื่องจากดาวฤกษ์จะก่อตัวขึ้นเมื่อก๊าซรวมตัวกัน

ทีมงานจากมหาวิทยาลัยสึคุบะจะปรับปรุงเทคนิคการสังเกตในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ  และวางแผนที่จะสร้างฐานสังเกตการณ์ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตรในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะให้บรรดานักวิจัยจากทั่วโลกมาอยู่ที่ฐาน และสังเกตกาแล็กซีที่ยังไม่เคยถูกค้นพบไปด้วยกัน

ข้อมูล japannews.yomiuri.co.jp/

ที่มาข้อมูล : https://japannews.yomiuri.co.jp/science-nature/science/20250610-262133/

ที่มารูปภาพ : University of Tsukuba

Thailand Web Stat
ข่าวเด่นวันนี้
Icon