TNN online เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล

TNN ONLINE

Tech

เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล

เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล

พาไปผ่อนคลาย ฟังเพลงบรรเลงเพราะ ๆ จากวงออร์เคสตราในเกาหลีใต้ ซึ่งงานนี้ได้วาทยกรฝีมือดีที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นน้องหุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมวง เคลื่อนไหวแขน กำกับการบรรเลงเพลงได้อย่างไร้ที่ติ

อนาคตที่เราจะเห็นหุ่นยนต์มาทำการแสดงหรือทำงานศิลปะมากขึ้น อาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการแสดงดนตรีจากวงออร์เคสตราแห่งชาติ ที่นำการแสดงโดยวาทยกรซึ่งเป็นหุ่นยนต์แอนดรอยด์ชื่อว่า เอเวอร์ ซิก (EveR 6) 



เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล ภาพจากรอยเตอร์

เอเวอร์ ซิก (EveR 6) เป็นหุ่นยนต์สองแขน สูง 180 เซนติเมตร และมีใบหน้าคล้ายมนุษย์ ซึ่งออกแบบโดยสถาบันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งเกาหลี และได้มาทำการแสดงเปิดตัวครั้งแรก ณ โรงละครแห่งชาติ โดยทำหน้าที่เป็นวาทยกรนำวงทั้งแบบเดี่ยว และแบบทำหน้าที่คู่กับมนุษย์ ทำการแสดงรวมเวลาทั้งสิ้นประมาณครึ่งชั่วโมง 


ซึ่งเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์นี้ ใช้การตั้งโปรแกรมให้จำลองการเคลื่อนไหวของวาทยกรที่เป็นมนุษย์ ผ่านเทคโนโลยีจับการเคลื่อนไหว หรือ โมชัน แคปเชอร์ (motion capture) เพื่อให้มันเรียนรู้ท่าท่างและจังหวะ ไปตามการกำกับบทเพลงต่าง ๆ 



เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล ภาพจากรอยเตอร์

แต่สิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนสำคัญของหุ่นยนต์วาทยกรตัวนี้ก็คือ มันยังสามารถกำกับวงดนตรีได้ ในระดับเพลงพื้นฐานเท่านั้น และมันยังไม่สามารถ “ฟังเสียง” ได้ ทำให้มันยังไม่สามารถควบคุมวงแบบสด ๆ ในทันทีทันใดได้ด้วย


ซึ่งจุดอ่อนนี้เองที่ทำให้สุนทรียภาพในการนำวงดนตรียังขาดหายไป โดยหนึ่งในผู้ฟังการแสดงดนตรีครั้งนี้กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์แม้ว่ารักษาจังหวะได้ดีไม่ทีที่ติ แต่ก็ขาด "ลมหายใจ" หรือความสามารถในการทำให้วงออร์เคสตราพร้อมที่จะมีส่วนร่วมไปกับการแสดงอารมณ์เพลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายทอดบทเพลงออกมาให้สมบูรณ์



เกาหลีใต้เผย “หุ่นยนต์วาทยกร” ผู้ควบคุมวงออร์เคสตราในกรุงโซล ภาพจากรอยเตอร์

แต่ก็ไม่แน่ว่า ถ้าวันหนึ่งทางทีมพัฒนาใส่เทคโนโลยีที่ล้ำขึ้นเข้าไปในตัวหุ่นยนต์ หรือใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้มันประพันธ์เพลง กำกับควบคุมวงเองได้ ถึงเวลานั้นเราอาจจะได้เห็นศิลปินแบบ บีโธเฟ่น (Johann van Beethoven) เวอร์ชันที่เป็นเอไอ ก็มีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน


ข้อมูลจาก reuters, ndtv, edition.cnn