TNN online นักวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ eDrone ตรวจหาร่องรอยดีเอ็นเอของสัตว์ที่หลงเหลือบนกิ่งไม้

TNN ONLINE

Tech

นักวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ eDrone ตรวจหาร่องรอยดีเอ็นเอของสัตว์ที่หลงเหลือบนกิ่งไม้

นักวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ eDrone ตรวจหาร่องรอยดีเอ็นเอของสัตว์ที่หลงเหลือบนกิ่งไม้

อีโดรน (eDrone) เพื่อนำมาใช้ในการค้นหาอีดีเอ็นเอ (eDNA) ที่อาจตกหล่นอยู่บนพื้นที่สูง เช่น ตามต้นไม้หรือพื้นผิวของกิ่งไม้

อีดีเอ็นเอ (eDNA) หรือ ดีเอ็นเอสิ่งแวดล้อม (Environmental DNA) เป็นสิ่งที่สัตว์ได้ทิ้งไว้ตามธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อุจจาระของสัตว์ คราบหรือผิวหนัง และสิ่งที่บ่งชี้ทางพันธุกรรมอื่น ๆ โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้ตามแหล่งน้ำ ดิน หรืออากาศ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะใช้อีดีเอ็นเอ (eDNA) ที่พบนำมาตรวจสอบเพื่อค้นหาว่าบริเวณดังกล่าวเคยมีสัตว์ชนิดใดเคยอาศัยอยู่บ้าง ที่ผ่านมาได้มีการนำอีดีเอ็นเอ (eDNA) มาใช้ในการตรวจสอบฉลามขาวที่อยู่บริเวณชายฝั่ง เพื่อบันทึกข้อมูลของสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่การนำไปค้นหาสัตว์ประหลาดในทะสาบล็อคเนส (Loch Ness)

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริค (ETH Zürich) จึงได้พัฒนาอีโดรน (eDrone) เพื่อนำมาใช้ในการค้นหาอีดีเอ็นเอ (eDNA) ที่อาจตกหล่นอยู่บนพื้นที่สูง เช่น ตามต้นไม้หรือพื้นผิวของกิ่งไม้ เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและลดการเสี่ยงอันตรายของนักวิจัย

อีโดรน (eDrone) มีกล้องตรวจจับความลึกและระบบเซนเซอร์อื่น ๆ โดยโดรนจะบินไปยังจุดเป้าหมายโดยอัตโนมัติ แล้วลงจอดที่กิ่งไม้ที่ต้องการเก็บรวบรวมอีดีเอ็นเอ (eDNA) ด้วยอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกรงเล็บหรือเข็ม ระบบเซนเซอร์ของโดรนจะช่วยตรวจสอบว่าพื้นที่เป้าหมายมีปริมาณอีดีเอ็นเอ (eDNA) มากหรือน้อยแค่ไหน และยังช่วยให้โดรนสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย เมื่อเก็บหลักฐานทางพันธุกรรมได้แล้ว โดรนจะบินกลับไปเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เก็บข้อมูลไปทำการวิจัยต่อไป

นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองใช้โดรนบินเก็บข้อมูลจากต้นไม้ 7 สายพันธุ์ เพื่อเก็บอีดีเอ็นเอ (eDNA) ของสิ่งมีชีวิต 21 กลุ่ม โดยทีมวิจัยกำลังเตรียมความพร้อมก่อนจะเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อค้นหาอีดีเอ็นเอ (eDNA) ให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 24 ชั่วโมง บนพื้นที่ 100 เอเคอร์ ของพื้นที่ป่าฝนในประเทศสิงคโปร์ 

ที่มาของข้อมูล Newatlas 
ที่มาของรูปภาพ ETH Zurich

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง