TNN online ดาวหางดวงแรกของปี 2023 อาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

TNN ONLINE

Tech

ดาวหางดวงแรกของปี 2023 อาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ดาวหางดวงแรกของปี 2023 อาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ดาวหางดวงแรกในปี 2023 จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดวันที่ 12 มกราคม 2023 นี้ ซึ่งอาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก

ในวันที่ 12 มกราคม 2023 ที่จะถึงนี้ ดาวหางซี/2022 อี3 (C/2022 E3) จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งการที่มันเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะทำให้บางส่วนของมันที่เป็นน้ำแข็งละลายออก (ดาวหางมักประกอบด้วยฝุ่นและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่) และมองเห็นเป็นทางยาวพวยพุ่งออกมา อีกทั้งมันจะโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 1 - 2 กุมภาพันธ์ 2023 ที่จะถึงนี้ 

ดาวหางดวงแรกของปี 2023 อาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เราอาจมองเห็นดาวหางซี/2022 อี3 (C/2022 E3) ได้ด้วยตาเปล่า 

โดยเราอาจสามารถมองเห็นมันได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากค่าความสว่างมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การคาดเดาว่าค่าความสว่างของดาวหางจะมากพอให้เห็นได้ด้วยตาเปล่ายังทำได้ยาก เพราะค่าความสว่างของดาวหางมักมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


จากข้อมูลขององค์การนาซา (NASA) หากดาวหางมีความสว่างมากพอให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บริเวณซีกโลกเหนือจะสามารถสังเกตดาวหางได้ในช่วงเช้ามืด ซึ่งกำลังปรากฏเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเดือนมกราคม 2023 จากนั้นดาวหางจะปรากฏให้ผู้สังเกตการณ์ในซีกโลกใต้สังเกตได้ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตดาวหางดวงดังกล่าว คือวันที่ดวงจันทร์ไม่สว่างมาก โดยในเดือนมกราคม 2023 นี้ คืนจันทร์ดับจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม ดังนั้น หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ฟ้าเปิดและไม่มีเมฆบัง จะสามารถสังเกตเห็นดาวหางในช่วงเวลาดังกล่าวบริเวณกลุ่มดาวมังกร (Draco) (ช่วงเวลาตั้งแต่ท้องฟ้ามืดสนิทจะสามารถมองเห็นได้ทางกลุ่มดาวมังกรบนท้องฟ้า)


การมาเยือนโลกครั้งล่าสุดเมื่อนานมาแล้ว 

ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา พบว่าดาวหางมีคาบการโคจรครบรอบนานประมาณ 50,000 ปี ซึ่งหมายความว่าการโคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในของดาวหางดวงนี้ครั้งล่าสุดอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของยุคหินเก่า ตรงกับช่วงที่มนุษย์ยุคแรกเริ่ม (Homo Neanderthalensis) อยู่อาศัยบนโลกในช่วงยุคน้ำแข็ง โดยก่อนหน้านี้มันถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ครั้งแรกในปี 2022


ข้อมูลจาก Space.com

ภาพจาก Telescope Live

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง